16 กันยายน 2551

ประกาศ พรก ฉุกเฉินพันธมิตรกร้าวชุมนุมต่อ นปก.ยุติแล้ว







ใครทำร้ายใคร-ภาพของAPที่BBCนำเสนอให้เห็นภาพการ์ดของพันธมิตรกำลังฉุดกระชากลากถูมวลชนนปก.หลังจากถูกทำร้ายจนฟุบลงไปแล้ว(ดูภาพข่าวที่http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7592942.stm)













2 กันยายน 2551


หลังจากที่กลุ่มมวลชน นปก.เคลื่อนกำลังจากสนามหลวงไปบุกกลุ่มพันธมิตรฯบริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อกลางดึก จนเกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีกกว่า 40 ราย โดยมี 3 ราย บาดเจ็บสาหัส ไปก่อนหน้านี้นั้น

ส่าสุด วันนี้ (2 ก.ย.) เมื่อเวลา 07.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์วุ่นวายที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลแล้ว

โดยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุว่า “ใช้อำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่เป็นมีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจัดการสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 , 33 , 34 , 36 , 38 , 41 , 43 , 45 , และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2551 ลงชื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี”

พร้อมแต่งผู้บัญชาการทหารบก รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองหัวหน้า นอกจากนี้ยังออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งห้ามการเสนอข่าวที่อาจกระทบต่อความมั่นคงทั่วราชอาณาจักร

พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรได้ประกาศบนเวทีต่อมวลชนของพันธมิตรว่า พันธมิตรจะไม่สลายการชุมนุม และยืนหยัดต่อไป ไม่เกินอีก2วันจะประสบชัยชนะ ขณะที่กลุ่มนปก.ได้ยุติการชุมนุมลง

เวทีสนามหลวง มวลชนต้านพันธมิตรเพื่ออภิชนาธิปไตยด่านสุดท้าย



















ผมอยากเรียกร้องในฐานะ เสรีชนคนหนึ่ง หลังๆมา ผมมักนิยมการเข้าร่วมกลุ่มชุมนุมในฐานะเสรีชนครับ ผมเรียกร้องให้เพื่อนๆ ในเว็บบอร์ด ปัญญาชน ชนชั้นกลาง ที่มีสถานภาพสังคม มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจและเวลา เข้าร่วมกับฝ่ายที่ยืนยัน "หลักการ" ประชาธิปไตย

1.ผมไปถึงสนามหลวงประมาณ 5 โมงเย็น มีการตั้งเวทีขนาดใหญ่พอๆ กับเวทีนปก.เดิม บริเวณสนามหลวงด้านตีนสะพานปิ่นเกล้า หันหน้าเข้าหาวัดพระแก้ว และเมรุ 300 ล้าน

5 โมงเย็น แดดยังร้อน แต่มีผู้คนมานั่งจับจองที่หน้าเวทีกันพอสมควรแล้ว ส่วนใหญ่จะเตรียมร่มบังแดดและเสื่อมาด้วย ส่วนผู้คนอีกจำนวนหนึ่ง จะจับกลุ่มกันอยู่บริเวณด้านข้างเวทีทั้งสองด้าน เพราะมีร่มเงามากกว่า ร้านค้าขายของตั้งเรียงอยู่บริเวณถนนทางเดินตัดผ่านสนามหลวงด้านธรรมศาสตร์ พื้นที่สำหรับการชุมนุม เป็นพื้นที่สนามด้านธรรมศาสตร์ กินอาณาเขตประมาณ 1 ใน 4 ของสนามหลวงทั้งหมด (ขณะนี้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของสนามหลวงตั้งเมรุอยู่ เมื่อแบ่งพื้นที่ชุมนุมโดยทางเดินตัดผ่านสนามหลวงที่มีร้านรวงตั้งขายของ ด้านหลังจะเป็นพื้นที่จอดรถของผู้มาร่วมชุมนุม รวมทั้งรถสุขาของกรุงเทพมหานครฯ)

ช่วงเย็น เวทียังไม่เรียบร้อยดีนัก ป้ายผ้าใบฉากหลังเวทียังไม่ได้เอาขึ้น ยังเป็นโครงเหล็กล้วนๆ ช่างเวทีกำลังจัดการกันอยู่ ได้ยินว่าเริ่มตั้งเวทีตั้งแต่ช่วงบ่ายแล้ว บนเวทีให้ผู้ดำเนินรายการจำเป็นขึ้นพูดกับผู้ชุมนุมที่เริ่มทะยอยเข้ามาเรื่อยๆ ด้านหลังเวทีมีเต็นท์สำหรับกลุ่มทีมงานที่มาร่วมกันขับเคลื่อนในวันนี้ ด้านขวาเวที

กลุ่มผู้มาชุมนุมกว่า 80% ผมเข้าใจว่ามาโดยตั้งใจมากๆ โดยสังเกตจากการใส่เสื้อ "สีแดง" หรือ "ดำ" มาอย่างค่อนข้างพร้อมเพรียง แต่เป็นแดงแบบของใครของมัน ทั้งนี้สังเกตจากการพูดคุยทั่วไป และกับพ่อค้าแม่ค้าบริเวณนั้น ส่วนใหญ่บ่นถึงความอึดอัดของสถานการณ์การเมือง ที่พันธมิตรก่อความวุ่นวายขึ้น

ขณะที่ผู้คนยังคงเดินทางมาเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เบื้องต้นพวกเขาอาจจะยืนอยู่รอบๆ ด้านข้างและด้านหลัง ต่อมาก็จะซื้อหาผ้าพลาสติกมาปูรองนั่ง ผู้คนเหล่านี้ มีความแตกต่างมากจากการชุมนุมก่อนนี้ กล่าวคือ มีลักษณะของ "ชนชั้นกลาง" ในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้น ต่างคนต่างมา เป็นคนหนุ่มสาว วัยกลางคนเพิ่มขึ้นด้วย

ผมตั้งข้อสังเกตเอาเองว่า การที่อัตลักษณ์ของผู้คนดูเหมือนจะมีปริมาณชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีสาเหตุจากผู้คนเหล่านี้ อึดอัดจากปัญหาพันธมิตรฯ ที่ผ่านมาไม่มีช่องทางระบายออก พวกเขาจึงออกมาในวันแรกของการชุมนุมอย่างเข้มข้น แต่อย่างไรก็ตามคนชั้นล่าง ชาวบ้านสามัญยังคงมีจำนวนมากเช่นเดิม

เมื่อเปรียบเทียบมวลชนของสนามหลวงกับพันธมิตร พันธมิตรจะเป็นพวกคนแก่ไฮโซมีฐานะมากกว่า พวกนี้มีเวลาอยู่กับบ้านร้านค้าดูเอเอสทีวี มีลูกจ้างสามารถทิ้งงานเป็นเวลานาน เพื่อร่วมชุมนุมได้ แต่คนชั้นกลางในสนามหลวง มีลักษณะเป็นคนชั้นกลางระดับล่างเยอะกว่ามาก คนเหล่านี้แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวร้านค้าต่างๆ แต่ก็เป็นธุรกิจขนาดย่อม ที่ไม่สามารถทิ้งงานได้เป็นเวลานาน ดังนั้นพวกเขาจึงมาร่วมชุมนุมได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น แม้ว่าจะมีจำนวนมากที่เป็นฐานสนับสนุนอยู่ก็ตาม

คนรุ่นหนุ่มสาววัยรุ่น ก็มีให้เห็นมากกว่าที่ผมเคยเห็นในสนามหลวงช่วงก่อนๆนี้ แต่ยังมีปริมาณน้อยกว่าคนกลุ่มอื่น สาวๆ หน้าตาแฉล้มแบบที่เจอกันต้องเหลียวหลัง ก็พอมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่น้อย ใช้เวลานานหน่อยก็จะหาเจอ (อิอิ) ดังนั้นหากกลุ่มปัญญาชนนักศึกษา ซึ่งอาจจะมีเวลานอกการเรียน และมีอัตลักษณ์ชนชั้นกลาง ที่จะเชื่อมต่อกับชนชั้นกลางในเมืองอื่นๆ เข้ามาร่วมเพิ่มปริมาณขึ้นในมวลชนเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก เพื่อปรับเปรียนอัตลักษณ์ของกลุ่มมวลชน ร่วมหารค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ซึ่งย่อมมีกลุ่มคนหลากหลาย และได้ทางการเมืองภาพลักษณ์ต่อสังคมเพิ่มขึ้น ...เรื่องนี้ซีเรียส หากตัดสินใจจะต้านพันธมิตรรัฐประหาร ผมว่าก็ควรตัดสินใจ กล้าแปดเปื้อนบ้างได้แล้ว!


2.ก่อน 6 โมงเย็น ทางเวทีให้คุณวิภู แถลง 1 ในแกนนำนปก.เก่าที่เข้าคุกพร้อมกันทั้ง 9 คน เป็นผู้ดำเนินเวที คุณวิภูเป็นนักปราศรัยที่มีมุขตลกขบขัน ผสมกับแนวคิดทางการเมืองที่สร้างบรรยากาศ "ประชาธิปไตย" ได้มากทีเดียว เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ข่าวลือในช่วงกลางวัน (ซึ่งผมก็ได้ยินจากวิทยุ) ว่าม็อบนปก. เคลื่อนไปที่บ้านพระอาทิตย์ ... เรื่องนี้ ไม่เป็นความจริง คุณวิภูบอกว่าขนาดเรายังไม่ทำอะไร มันก็กล่าวหากันแล้ว เรื่องนี้มีการตกลงในเวทีสนามหลวงกันชัดเจนถึงสถานการณ์ว่า พวกพันธมิตรกำลังต้องการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงให้เกิดขึ้น ดังนั้นการเคลื่อนไหวของมวลชนสนามหลวง จะไม่ใช้ความรุนแรงแน่นอน และขอให้ผู้ร่วมชุมนุมระวังหากมีการยั่วยุจากอีกฝ่าย (บรรยากาศการป้องกัน การสร้างสถานการณ์จากอีกฝ่าย ดีพอควรครับ มีการตกลงกันชัดเจน)

เมื่อถึงเวลาเคารพธงชาติ คุณวิภูเชิญผู้ร่วมชุมนุมยืนตรงร้องเพลงชาติพร้อมกัน ไม่มีเครื่องขยายเสียงหรือแบ็กกิ้งแทร็คครับ ร้องกันสดๆ ได้บรรยากาศมากครับ เป็นบรรยากาศของมวลชน ที่มาร่วมเรียกร้องประชาธิปไตยแท้จริง เสียงร้องเพลงชาติประสานกันดังพอประมาณ เยียบเย็นแต่สะท้านไปทั่วบริเวณ เรียบร้อย สงบ มั่นคง

ผู้ที่มาร่วมกันเพิ่มขึ้น จนทำให้บริเวณพื้นที่ด้านหน้าเวทีไปจนด้านหลังที่ติดกับร้านค้า และทางเดินผ่านสนามหลวงค่อนข้างเต็ม ตอนแรกนั่งกันแบบมีช่องว่าง แต่พอยิ่งดึกขึ้นพื้นที่นั่ง จะชิดแน่นกันจนเดินค่อนข้างลำบาก งานนี้ รัตนพล ส.อรพิน ก็มาขายบะหมี่อีกเช่นเคย

ผมคิดว่าส่วนที่ขาดไปของเวทีสนามหลวง คือ "สื่อ" ผมไม่เห็นสื่อมาถ่ายทอดเลย อาจจะมีอยู่บริเวณอื่นหรือเปล่าผมไม่ทราบได้ (ผมเดินสำรวจทั่วๆไม่เห็น) แต่คิดว่าอย่างน้อยก็คงมีนักข่าวจากเอ็นบีที นำเสนอภาพอยู่บ้าง แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่า พื้นที่สื่อของมวลชนสนามหลวงยังมีค่อนข้างน้อยมาก แสงไฟสปอต์ไลต์ มีเฉพาะบนเวทีสนามหลวง มวลชนสนามหลวงตอนดึกจะค่อนข้างนั่งกันในที่มืด เมื่อเทียบกับม็อบพันธมิตรแล้ว ฝ่ายพันธมิตรเป็นม็อบไฮโซ อุปกรณ์พร้อมกว่าเยอะครับ เรื่องนี้มีผลต่อการรับรู้และการสร้างบรรยากาศของการอยากเข้าร่วมชุมนุมอยู่เช่นกัน

ระบบป้องกันจากการ์ด มีเพียงบริเวณด้านหลังเวที ซึ่งป้องกันการแทรกซึมจากภายนอก มีการจัดเตรียมการ์ดกันอยู่ หลังเวทีมีแกนนำหลายกลุ่มและผู้ที่จะขึ้นปราศรัยบนเวทีรอต่อคิวกันอยู่

ผู้ปราศรัย จากวิภู แถลงที่ดำเนินรายการ ก็สับเปลี่ยนกันหลายคน หลายคนจัดรายการวิทยุแท็กซี่ กับคลื่นแนวร่วมอื่นๆ ผมไม่ค่อยรู้จักจำชื่อไม่ได้ แต่เห็นว่า ทั้งหมดเป็นผู้ปราศรัยที่ค่อนข้าง "โอเค" มากๆ สำหรับผม กล่าวคือ ไม่หลุดจากคอนเซ็ปต์ เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านระบอบเผด็จการอำมาตย์เลย ...หลายคน นำอารมณ์ของผู้ชุมนุมได้ดีพร้อมมีมุขตลกขำๆ มาเล่น การยืนยันจากบนเวที ถึงการชุมนุมเพื่อแสดงพลังของมวลชนต่อสังคมภายนอก ว่ามีมวลชนจำนวนมากยังสนับสนุนรัฐบาลจากการเลือกตั้งอยู่ ทั้งนี้มีการแจ้งว่ามวลชนจากต่างจังหวัดจะเข้ามาสมทบในวันต่อๆ ไป เพราะการรวมกลุ่มวันนี้ ค่อนข้างกระทันหัน และด้วยการสไตท์ของสหภาพแรงงานรถไฟ ซึ่งเป้าหมายแท้จริงก็คือ การตัดมวลชนที่เข้ามาสนับสนุนรัฐบาลจากภาคอีสานนั่นเอง

คนที่ขึ้นเวทีปราศรับที่ผมรู้จัก ก็มีนปก.เก่า อย่าง อ.เมธาพันธุ์ , อ.จรัล ดิษฯ , คุณวีระ มุสิกพงษ์, ชูพงษ์ ถี่ถ้วน , ชินวัฒน์ (เหมือนจะขึ้นนะแต่ไม่แน่ใจ) , สก.เขตบางกะปี (ไม่แน่ใจเขต แต่เป็นนักจัดการการ), คุณสมยศ 24 มิ.ย. ฯลฯ รวมทั้งกวี ไม้หนึ่ง ก. กุนที จากมติชนด้วย ผมเพิ่งชมสดก็วันนี้เอง กลุ่มแนวร่วมด้านวัฒนธรรมของเวที นปก. ยังคงมีน้อยและเป็นจุดอ่อนของการเคลื่อนไหว ที่จะดึงมวลชนชั้นกลางเข้าร่วม หากมีแนวร่วมด้านวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าจะเป็นการสร้างพลังได้มากกว่านี้ ใครมีความสามารถด้านนี้น่าจะไปเสนอตัวช่วยหน่อย

รอบๆ เวที มีร้านค้าขายของ จำพวกหนังสือแฉ จำลอง ศรีเมือง , แฉการลอบสังหารทักษิณ, ซีดีทักษิณและการเคลื่อนไหวของนปก. , รวมทั้งโต๊ะขายสติกเกอร์ "เบื่อม็อบพันธมิตร" ของกลุ่มบก.ลายจุดด้วย (บ.ก.ก็อยู่ด้วยเช่นกัน) , สำหรับนักวิชาการนอกจากที่กล่าวไปแล้วบนเวที ด้านล่างวันนี้ ที่ผมรู้จักและเห็นก็มีอยู่บ้างแต่ไม่เอ่ยนามดีกว่า เพราะ อาจารย์เขาอาจจะต้องการเป็นผู้สังเกตการณ์มากกว่า แต่อยากให้ทุกคนรู้ว่า ผู้ออกมาต่อต้านเผด็จการประชาชน+ทุนศักดินา ก็มีหลากหลายครับ

ผมคุยกับพี่คนขับแท็กซี่คนหนึ่ง แกบอกว่าถึงรัฐบาลจะยุบสภา แล้วถามว่า พันธมิตรจะเลิกไหม? แกบ่นอย่างอึดอัดว่า "เราก็ไม่ได้เลือกรัฐบาลมาคนเดียวเสียเมื่อไหร่ คนเขาเลือกกันมาทั้งประเทศ" คนขายลูกชิ้นบ่นว่าเรื่องแก๊สน้ำตาว่า "ทำไมตอนที่ตำรวจใช้หน้าบ้านเปรม ไม่เห็นมีใครพูดอะไรเลย" ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่าบ้านเมืองนี้ มันก็พิกลพิกาลอย่างนี้ เพราะไอ้ชนชั้นนำโบราณระยำกลุ่มหนึ่ง

ในช่วง 3 ทุ่ม เป็นเวลาก่อนคุณวีระ จะขึ้นพูด ผมคิดว่าเป็นช่วงพีคสุดแล้ว สำหรับการนับจำนวนผู้ร่วมชุมนุม ผมประเมินคร่าวๆไปแล้วในอีกกระทู้ว่า ไม่น่าจะเกิน 5 พันคน ถ้าให้ระบุชัด ผมก็จะบอกว่า 4 พันคน บวก/ลบ 500 ครับ (ได้ยินเช้านี้ว่า มีสื่อเสนอว่าประมาณ 8 พันคน และผู้ร่วมชุมนุมพูดในรายการวิทยุชุมชนเป็นหลักหมื่น..อันนี้ก็แล้วแต่สายตาครับ แต่ผมว่าเวอร์ไป)

สุดท้ายนะครับ ผมอยากเรียกร้องในฐานะ เสรีชนคนหนึ่ง หลังๆมา ผมมักนิยมการเข้าร่วมกลุ่มชุมนุมในฐานะเสรีชนครับ ผมเรียกร้องให้เพื่อนๆ ในเว็บบอร์ด ปัญญาชน ชนชั้นกลาง ที่มีสถานภาพสังคม มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจและเวลา เข้าร่วมกับฝ่ายที่ยืนยัน "หลักการ" ประชาธิปไตยนี้ ไม่ว่าคุณจะเห็นพวกเขา มองเขาในสายตาต่ำต้อย ลดทอนความเป็นมนุษย์ของพวกเขา จากการมองว่าพวกเขาเป็นเพียง กลุ่มคนรักทักษิณ, คนโง่ , ได้รับผลประโยชน์เฉพาะหน้า ฯลฯ แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องเป็น "เป้าหมาย" ที่ถูกต้องและดีงาม ต่อกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ได้ดัดจริตถอยหลังเข้าคลองแบบชนชั้นกลางจำนวนมากในม็อบพันธมิตร และบรรดานักวิชาการดัดจริตโหนกระแสต่างๆ

พวกเขาต้องการกำลังเสริมจากปัญญาชน เปลี่ยนเคมีของกลุ่มให้มีภาพลักษณ์ในทางคุณภาพของแนวร่วมยิ่งขึ้น พวกคุณอาจช่วยในด้านต่างๆ แก่พวกเขาได้ โดยไม่ต้องขึ้นเวทีก็ตาม เพียงแค่เข้าไปร่วมชุมนุม ให้อัตลักษณ์ของมวลชนมีความหลากหลายของตัวตน สามารถเชื่อมต่อสื่อสารต่อสังคมชนชั้นกลางได้มากขึ้น หรือการผลิตสื่อใบปลิว บทกวี บทความ แจกในท้องสนามหลวง เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้คนเหล่านี้ นี่น่าจะเป็นคุณปการที่พวกเราทำได้ใช่ไหมครับ?

บางครั้ง เราอาจต้องกล้าที่จะแปดเปื้อน ...เพื่อดำรงไว้ในสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องดีงาม ผมเชื่ออย่างนั้น


โดย คุณHomo erectus
ที่มา บอร์ดฟ้าเดียวกัน
1 กันยายน 2551

คนไทยในอังกฤษ ร่อนจม.สนับสนุนรัฐบาลปราบกบฎ

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

เรื่อง สนับสนุนรัฐบาลในการรักษากฎหมาย กติกาประชาธิปไตย และนำพาความสงบสุขกลับคืนสู่สังคมไทย
เรียน พี่น้องประชาชนไทยทุกท่าน

ตามที่มีคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รวมตัวชุมนุมเรียกร้องตั้งเงื่อนไขให้รัฐบาลลาออก เสนอแนวทางการเมืองใหม่แบบแต่งตั้ง 70% และเลือกตั้ง 30% โดยสร้างเงื่อนไขการชุมนุมด้วยวิธีการข่มขู่ให้รัฐบาลกระทำตามคำเรียกร้อง โดยใช้ยุทธวิธีที่ละเมิดกฎหมายอย่างร้ายแรง ต่างกรรม ต่างวาระ อาทิ การปิดถนนสายหลักในเมืองหลวง และต่างจังหวัด การบุกรุกเข้ายึดสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมทั้งการบุกยึดสถานีโทรทัศน์ NBT การหยุดเดินรถไฟอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร การปิดล้อมสนามบินนานาชาติหลายแห่ง จนกระทั่งการบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก ทั้งนี้ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ส่อเค้าลางว่ามีความพยายามยั่วยุให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าวิตกว่าสถานการณ์อาจลุกลามขยายตัวกลายเป็นวิกฤตที่จะดึงสังคมไทยลงสู่ห้วงเหวแห่งความหายนะในที่สุด กลุ่มคนไทยรักประชาธิปไตยในสหราชอาณาจักรเห็นด้วยกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันหลากหลาย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ การใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นจะต้องได้รับการคุ้มครอง แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ได้ยึดถือแนวทางการแสดงความคิดอย่างสงบสันติดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงข้ามเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เลือกกระทำการเรียกร้องข้อเสนอของตนด้วยการใช้ความสงบสุขของประชาชนเป็นเครื่องมือต่อรอง มีการกระทำอันเป็นการละเมิดกฎหมายต่างกรรม ต่างวาระอย่างต่อเนื่อง ท้าทายอำนาจรัฐ ละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้กระทั่งการท้าทายขัดขืนคำสั่งของศาลยุติธรรม

กลุ่มคนไทยรักประชาธิปไตยในสหราชอาณาจักรร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวไทยในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ขอให้กำลังใจรัฐบาล ในการรักษากฎหมาย กติกาประชาธิปไตย และนำความสงบสุขคืนสู่สังคมไทย และขอเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยุติการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย แสดงความเคารพกติกาในระบอบประชาธิปไตย และสิทธิของประชาชนที่มีความคิดแตกต่าง ทั้งนี้เพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่ง ความสมัครสมาน สามัคคีของคนในชาติ และนำพาความสงบสุขกลับคืนมาสู่สังคมไทย

ขอแสดงความนับถือ

วัฒนา เอ็บเบจช์

กลุ่มคนไทยรักประชาธิปไตยในสหราชอาณาจักร
อีเมล์: doublezero1@hotmail.co.uk

การชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ....หรือ ซ่องโจร ???








นี่คือหลักฐาน ของการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ

ที่เห็นนี่คืออะไร

แบบนี้เข้าข่ายซ่องสุม ที่จะโดนข้อหา....กบฏต่อแผ่นดินมั๊ย










สำหรับของกลางที่ยึดได้ จากถนนรอบทำเนียบรัฐบาล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ บก.น.1 นั้น มีทั้งสิ้น18 รายการ ได้แก่

1. ลูกกระสุนปืนขนาด.38 จำนวน 117 นัด
2. ลูกกระสุนปืนขนาด 9 มม.จำนวน 47 นัด
3. สิ่งเทียมอาวุธปืน(ปืนอัดลม) 1 กระบอก
4. ใบกระท่อมสด 2.2 กิโลกรัม
5. ของเหลวสีน้ำตาล บรรจุขวดพลาสติก ขนาด 100 ซีซี จำนวน 9 ขวด
6. น้ำมันเบนซิน บรรจุขวดเครื่องดื่มชูกำลัง 60 ขวด
7. ไม้กอล์ฟจำนวน 1,558 ด้าม
8. ท่อนเหล็ก 248 ท่อน
9. ไม้ท่อนกลม 185 ท่อน
10.ไม้ท่อนเหลี่ยม 50 ท่อน
11.เสาธงไม้ 48 อัน
12.ดาบและเหล็กแบนปลายแหลม 20 อัน
13.สนับแขน ทำด้วยท่อพีวีซี 27 อัน
14.โล่ทำด้วยไม้อัด 56 อัน
15.หนังสติ๊ก มีด้ามเป็นไม้ 55 อัน
16.ลูกแก้ว และลูกดินปั้น 185 ลูก
17.ถังดับเพลิง 3 ถัง และ
18.โทรโข่ง 2 อัน

ส่วนของกลางที่ยึดได้จากที่สถานที่โทรทัศน์ NBT ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สน.สุทธิสาร มีทั้งสิ้น 34 รายการ ได้แก่

1. ปืนพกแบบออโตเมติกขนาด 0.45 ไม่มีทะเบียน ยี่ห้อสมิตแอนด์เวสสัน 1 กระบอก พร้อมซองกระสุนปืน 1 อัน และกระสุนปืน ขนาด .45 บรรจุอยู่ในซองกระสุนจำนวน 12 นัด
2. ซองกระสุน บรรจุกระสุนปืนขนาด.45 จำนวน 1 อัน
3. ซองปืนหนังแบบพกนอก สีดำ จำนวน 1 ซอง
4. วิทยุสื่อสารยี่ห้อโมโตโลล่า จำนวน 1 เครื่อง
5. แบตเตอรี่ วิทยุสื่อสาร ยี่ห้อโมโตโลล่า 1 อัน
6. หนังสติ๊ก 1 อัน
7. ลูกเหล็กทรงกลม ขนาดเล็กจำนวน 3 ลูก
8. กระสุนปืนขนาด.22 จำนวน 1 นัด
9. กระสุนปืนขนาด.38 จำนวน 5 นัด
10.ก้อนหิน 10 ลูก และลูกเหล็ก 23 ลูก อยู่ในถุงพลาสติก 1 ถุง
11.ปืนพกสั้นออโตเมติก ไม่มีทะเบียน พร้อมซองบรรจุกระสุน 1 ซอง และกระสุนปืนไม่ทราบขนาด 5 นัด
12.หนังสติ๊ก 1 อัน
13.ลูกเหล็กทรงกลม 20 ลูก
14.มีดปลายแหลม พร้อมซองไม้ 1 เล่ม
15.ใบกระท่อม 2 ใบ
16.หนังสติ๊กไม้ 3 อัน
17.ใบกระท่อม 8 ใบ
18.ไม้กระบองสี่เหลี่ยม ยาว 2 ฟุต จำนวน 1 อัน
19.สิ่งเทียมอาวุธปืน 1 กระบอก
20.ปืนพกรีวอลเวอร์ ขนาด .38 ไม่มีทะเบียน
21.กระสุนปืนขนาด .38 จำนวน 40 นัด
22.หนังสติ๊ก 5 อัน
23.ลูกเหล็กทรงกลมจำนวน 39 ลูก
24.มีดพกขนาดเล็ก 3 เล่ม
25.มีดดาบ 12 เล่ม
26.ปืนลูกซองสั้น 1 กระบอก พร้อมกระสุน 2 นัด
27.ไม้กอล์ฟ 8 อัน
28.ขวานด้ามไม้ 2 อัน
29.มีดดาบขนาดยาว 6 เล่ม
30.มีดพกสั้น 11 เล่ม
31.สนับมือ 1 อัน
32.หนังสติ๊กไม้ 8 อัน พร้อมลูกแก้ว 97 ลูก
33.ใบกระท่อม 300 ใบ และ
34.อาวุธมีดพกแบบคมด้านเดียว ใบมีดโค้ง มีสันเป็นหยัก พร้อมซองพกสีดำ 1 เล่ม


โดย คุณ S.kaya / คุณ sky
ที่มา เวบบอร์ด พันทิปราชดำเนิน
31 สิงหาคม 2551

อารยะสลาย...(ม็อบ)




ไม่ให้ใช้ ความรุนแรง ใครก็เรียกร้องแบบนั้น

องค์กร รักสันติ ผู้หลักผู้ใหญ่ (ไม้หลักปักขี้เลน)
นักการเมืองปากรักประชาธิปไตย (แต่ขยิบตา ให้คนถือปืนเข้ามาล้มระบบ)
ผบ.เหล่าทัพ (ที่ใคร ๆ ก็ว่า เป็นตัวแปร)
พวกนักฉวยโอกาส
ประชาชนคนเดินดิน

ล้วนท่องคาถานี้

แต่ไม่ยักบอก แล้วจะให้จัดการกับ อนารยะขัดขืน อนาธิปไตย ที่ทำตามอำเภอใจ ไม่ยอมรับกฎกติกาทุกชนิด กันอย่างไร

หรือการไม่ใช้ความรุนแรง คือ ปล่อยบ้านเมืองไร้ขื่อแป อย่างที่กำลังเข้าใจผิดกัน ใครใคร่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนฝ่ายอื่น ทำได้ทุกอย่างตามใจชอบ ปิดถนน ปิดสนามบิน ยึดสถานีโทรทัศน์ ยึดสถานที่ราชการ ยึดทำเนียบรัฐบาล ทำได้ตามอำเภอใจ แบบบ้านป่า เมืองเถื่อน !!!

เวลานี้ ข้อเรียกร้องของ กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ใช่แค่ไล่รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ที่ว่าเป็นหุ่นเชิด และไม่ใช่พรรคนี้มาอีก ไล่อีก หรือแค่เปลี่ยนขั้วการเมือง เอาปชป.มาเป็นรัฐบาล แต่ไปไกลถึงขนาดจะเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง เป็นลากตั้ง 70 เลือกตั้ง 30 แบบที่ประกาศไว้

การที่สมัครจะลาออก หรือไม่ออก จึงไม่ใช่ประเด็นเลย

สถานการณ์เวลานี้ มาถึงทาง 2 แพร่ง เมื่อ ศาลแพ่ง มีคำสั่ง 22.00 น.วันที่ 27 สิงหาคม ให้ความคุ้มครองชั่วคราว สั่งพันธมิตรฯ รื้อถอนเวที เปิดถนนราชดำเนิน ถนนพิษณุโลก โดยทันที

หลังศาลมีคำสั่ง ขณะที่ ศาลอาญา วันเดียวกัน อนุมัติหมายจับ 9 แกนนำ สนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สมศักดิ์ โกศัยสุข สุริยะใส กตะศิลา เทิดภูมิ ใจดี ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อมร อมรรัตนานนท์ ข้อหาทำผิด ม.113, 114 และ 216 แรงสุด คือ ม.113 ข้อหากบฏ มีโทษถึงประหารชีวิต

สนธิ ประกาศว่า สามารถอารยะขัดขืนกับศาลได้

สำราญ รอดเพชร ประกาศมาตรการดื้อแพ่งต่อศาล เพื่อปฏิบัติภารกิจกู้ชาติให้สำเร็จ

พล.ต.จำลอง ประกาศบนเวที จะอยู่ให้จับ แต่ตำรวจต้องฝ่าด่านประชาชนเข้ามาเอง (เท่ากับไม่ให้จับ) พร้อมปลุกเร้าให้ยึดทำเนียบ เป็นฐานที่มั่น อย่าออกไปเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะแพ้

พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่สุด ยอมรับ เป็นตัวตายตัวแทน คนนี้สำคัญ มาเมื่อไหร่ รุนแรงเมื่อนั้น

ตามข่าวล่าสุด มีการเตรียมหลุมพราง น้ำมัน เพื่อ เผาทำเนียบ สร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง ยั่วยุให้ทหารออกมา...

แต่ข่าวว่ารัฐบาลก็รู้ทัน สั่งตำรวจห้ามใช้ความรุนแรง และยอมย้าย การจัดงาน “116 วัน จากวันแม่ถึงวันพ่อ” ไปจัดที่สวนอัมพรแทนทำเนียบรัฐบาล !!!

การไม่ใช้ความรุนแรง ถูกต้อง แต่ไม่ใช่เอามือซุกหีบ ปล่อยบ้านเมืองไร้ขื่อแป !!!

หากต้องสลายม็อบ แบบอารยประเทศ คือ ตำรวจ สวมหมวกกันน็อก ใช้โล่ กระบอง ไม่ใช้ดาบ ปืน หรืออาวุธอื่นใด ใช้รถดับเพลิง ฉีดน้ำ หรือสเปรย์พริกไทย ไล่ผู้ชุมนุมได้

สิ่งเหล่านี้คือการปราบจลาจล ที่อารยประเทศยอมรับกันทั่วโลก

ผ่านจุดนี้ไปได้ โดยทหารไม่ยุ่ง ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอีกขั้น เช่นกัน.

โดย คุณ ดาวประกายพรึก
ที่มา เวบไซต์ เดลินิวส์
30 สิงหาคม 2551

15 กันยายน 2551

คำถามต่อหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์






หมายเหตุ:หลังจากตำรวจทำท่าจะเข้าควบคุมสถานการณ์ชุมนุมไว้ได้ บรรดาส.ว.(ส่วนใหญ่เป็นส.ว.สรรหา คือทายาทอสูรของคมช.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ นายทหารที่ใกล้ชิดพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้พากันยกพวกมาให้กำลังใจม้อบพันธมิตร แล้วยกพวกไปกดดัน บชน.ให้เลิกใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม

หลังจากนั้นเมื่อตำรวจถูกกดดันให้เลิกควบคุมการชุมนุม ม็อบพันธมิตรก็ตีโต้อย่างฉับพลันทันที โดยยึดพื้นที่ทำเนียบคืนไว้ได้ และรุกคืบยึดพื้นที่มัฆวานคืน รวมทั้งยกพวกไปบุกบชน. และขีดเส้นตายให้ส่งนายตำรวจที่สั่งการควบคุมการชุมนุมมาให้ภายใน 19.00 น. ไม่เช่นนั้นทุกสน.และทั่วกทม.จะลุกเป็นไฟ จากคำขู่ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล




บทความต่อไปนี้คือคำถามต่อหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์,พล.อ.ปฐมพงษ์,ส.ว.สรรหา และนักวิชาการ องค์กรหน่วยงานต่างๆที่เฝ้าประนามฝ่ายรัฐ ทั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลที่ให้ออกหมายจับ9แกนนำผู้ชุมนุม และสั่งสลายการชุมนุมจากทำเนียบ แต่ขณะเดียวกันคนพวกนี้ก็ไม่เคยจะกล่าวประนามการกระทำของพันธมิตรเลยแม้แต่น้อย

ภายหลังจากที่พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (น่าจะเพื่อการรัฐประหารมากกว่า) ได้ใช้ยุทธการยึด NBT ใส่หน้ากากคล้ายขบวนการซาปาติสต้า ประเทศเม็กซิโก (ถ้ารองผู้บัญชามาร์กอสดูข่าว คงมึนหัวแน่ๆเลย เมื่อพวกขวาอนุรักษ์นิยมนำเอาสัญลักษณ์ความเป็นซ้ายใหม่ไปปรับใช้อย่างมั่วๆหรือเอาเพียงรูปแบบไปใช้มากกว่าเนื้อหา)

การยึดสถานที่ราชการ และการปักหลังยึดทำเนียบเป็นฐานที่มั่น ทำให้กลุ่มองค์กรต่างๆทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ นักสื่อสารมวลชน บางคนบางองค์กร ที่อ้างว่า “ภาคประชาชน” ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ผ่านการสัมภาษณ์ เวทีสัมมนา-อภิปราย จดหมายเปิดผนึก และแถลงการณ์

ผู้เขียนมีความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของผู้อ้างว่าสังกัด “การเมืองภาคประชาชน” บางส่วนดังนี้

1.การยึด NBT ของพันธมิตรฯ ยังมีบางองค์กรมีท่าทีที่คลุมเครือไม่ชัดเจน ยังพยายามอ้างว่า มีบางคนไม่ใช่คนของพันธมิตรฯเหมือนสุริยะใส สนธิ ให้ข่าว หรือพยายามที่จะแกล้งบอกให้ดูดีว่า ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีก่อน โดยมีธงในใจอยู่แล้วว่าไม่เกี่ยวพันธมิตรฯ เพราะไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ เพราะ “ถูกเบี้ยว” “ไม่มาตามนัด” และถ้ามาตามนัด อาจจะฉลองใหญ่ถึงการปฏิวัติโดยประชาชนไปแล้ว และคงยกย่องเชิดชูมอบเกียรติยศให้กับผู้เข้ายึด NBT เป็นฮีโร่ เช่นนั้นแน่

2.การพยายามเสนอให้รัฐบาล อย่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นจุดยืนที่ถูกต้อง สมควรกระทำยิ่ง แต่อีกด้านหนึ่งก็ไม่มีความพยายามจะบอกว่าพันธมิตรฯ ต้องหยุดสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง เช่นกัน ไม่ว่าทางคำพูดปราศรัย หรือการเคลื่อนไหวหมิ่นเหม่ต่อการให้เกิดการนองเลือด หรือการนำสู่การรัฐประหารที่เป็นความรุนแรงทางโครงสร้างของฝ่ายใดก็ตาม

3.มีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ต่อการที่เสนอให้รัฐบาลต้องยอมรับสิทธิการชุมนุมอย่างสันติวิธี ปราศจากอาวุธ และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่ก็ไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่า อย่างไหนเลยเถิดสันติวิธี อารยะขัดขืน ดื้อแพ่ง และเช่นไรไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนมากกว่าการเล่นคำภาษาไปมา

4.มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสื่อของรัฐโดยเฉพาะ NBT เสนอข่าวลำเอียงทางรัฐบาล แต่กลับไม่เคยตำหนิว่าการเสนอข่าวของ ASTV ปลุกปั่นสร้างข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง เหมือนไม่ได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน เช่นกัน ส่วนด้าน TPBS จำเป็นต้องตรวจสอบเช่นกันว่า เสนอข่าวสารข้อมูล เป็นทีวีสาธารณะจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงสื่อสารมวลชนอีกแห่งหนึ่งที่ถูกฉวยโอกาสให้รับใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะรู้ตัวไม่รู้ตัวตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

5.บางองค์กรเลยเถิดไปใหญ่มองว่า พันธมิตรฯ เป็นการเมืองภาคประชาชน ซึ่งถ้าหมายถึงการเคลื่อนไหวนอกระบบรัฐสภาเพื่อตรวจสอบถ่วงดุล ก็อาจจะยอมรับได้แต่ถ้าเคลื่อนไหวเพื่อล้มระบบรัฐสภา เพื่อการเมืองใหม่แบบโควตาอ้อย 70-30 ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลือกผู้ปกครอง แล้วผู้ปกครองมาจากไหนกัน ใครแต่งตั้ง หรือการเสนอให้อภิสิทธิ์ผู้นำฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นเสียงข้างมากในระบอบรัฐสภา

หรือเนื้อแท้แล้ว การเมืองภาคประชาชนมีทั้งเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย เพื่ออนุรักษ์นิยม และเพื่อการรัฐประหาร ก็จะได้นิยามกันใหม่ให้ชัดเจนในแวงวงวิชาการ วงการเคลื่อนไหวทั้งหลาย

6.การที่สส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสส.สอบตก สว.สายคมช. สว.ลากตั้ง อดีต สนช. สสร. ซึ่งล้วนเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ รัฐบาล ได้แสดงบทบาททางใดทางหนึ่งในลักษณะสังกัดฝ่ายพันธมิตรฯ ทำไมผู้อ้างว่า สังกัด “การเมืองภาคประชาชน” ไม่มีการแสดงบทบาทตรวจสอบถ่วงดุลย์คนเหล่านี้ด้วยอย่างที่น่าจะกระทำเหมือนตรวจสอบรัฐบาลอย่างเสมอหน้ากัน

7.หรือพวกเขาเหล่านั้น ล้วนสังกัด ไม่ทางใดทางหนึ่ง ของพันธมิตรฯ เพียงแต่ อ้างว่า “การเมืองภาคประชาชน” “เราพวกสองไม่” อย่างนี้ใช่ไหม ที่เขาเรียกกันว่า “ปากกับใจไม่ตรงกัน” หรือ”ปากว่าตาขยิบ” ก็ไม่ต่างกับนักการเมืองพรรคพลังประชาชนที่พวกเขาเกลียดเข้ากระดูกดำ

8.และอย่าลืมว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ถ้ามองเฉพาะส่วนเฉพาะประเด็น แบบตัดตอนเป็นเรื่องๆ ก็จะไม่สาวได้ถึงว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดมีเป้าชัดเจน เพื่อการเมืองใหม่ หรือ “เผด็จการแบบใหม่” นั้นเอง

โดย สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์
ที่มา ประชาไท
29 สิงหาคม 2551

ท่องเที่ยวไทยพังพินาศ ฝรั่งเซ็งพันธมิตรปิดสนามบิน บอกไม่มาอีกแล้วเมืองไทย




ท่องเที่ยวไทยพังพินาศ ฝรั่งเซ็งพันธมิตรปิดสนามบิน บอกไม่มาอีกแล้วเมืองไทย แถมจะกลับไปบอกเพื่อนอย่ามาเที่ยวเมืองเถื่อน

นายยุทธนา จิตรอบอารีย์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตกล่าวว่า ขณะนี้พยายามแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้โดยสาร โดยจะหาทางพาผู้โดยสารที่ลงเครื่องออกจากท่าอากาศยานภูเก็ต อย่างไรก็ตามจากการสอบถามไปทางกลุ่มผู้โดยสารชาวต่างชาติบอกว่าจะไม่กลับมาเที่ยวอีกและจะกลับบอกเพื่อนๆที่ต้องการมาเที่ยวที่ภูเก็ตประเทศไทยว่าไม่ต้องมาแล้วด้วย






นักท่องเที่ยวต่างชาติ ลั่น จะไม่มาไทยอีก


สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานข่าวว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ ตกค้างที่สนามบินภูเก็ตจำนวนมาก ลั่น จะกลับไปบอกเพื่อน ๆ ไม่ให้กลับมาประเทศไทยอีก หลังต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์กลุ่มพันธมิตร ส่งกำลังบุกยึด

ความคืบหน้าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรบริเวณทางเข้าออกสนามบินภูเก็ต ขณะนี้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้กระจายกันไปปิดทางเข้าออกสนามบินภูเก็ตครบทุกจุดแล้วยังได้บุดเข้าไปภายในอาคารเอนกประสงค์ท่าอากาศยานภูเก็ตด้วย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติตกค้างอยู่ที่สนามบินภูเก็ตเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผู้โดยสารที่เป็นคนไทยที่สต้องการเดินทางออกไปต่างจังหวัดก็ได้แจ้งยกเลิกเที่ยวบินไปบ้างแล้ว

นายยุทธนา จิตรอบอารีย์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตกล่าวว่า ขณะนี้พยายามแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้โดยสาร โดยจะหาทางพาผู้โดยสารที่ลงเครื่องออกจากท่าอากาศยานภูเก็ต อย่างไรก็ตามจากการสอบถามไปทางกลุ่มผู้โดยสารชาวต่างชาติบอกว่าจะไม่กลับมาเที่ยวอีกและจะกลับบอกเพื่อนๆที่ต้องการมาเที่ยวที่ภูเก็ตประเทศไทยว่าไม่ต้องมาแล้วด้วย

สนามบินหาดใหญ่-ภูเก็ตยกเลิกทุกเที่ยว
นักท่องเที่ยว ตกค้างที่สนามบินหาดใหญ่ จำนวนมาก หลังมีการประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดในวันนี้ จากเหตุพันธมิตรยกกำลังพลนับพันเข้ายึด

สนามบินหาดใหญ่ประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดที่จะออกจากสนามบินหาดใหญ่แล้ว หลังจากที่มีการรวมตัวชุมนุมปิดทางเข้า-ออก สนามบินหาดใหญ่ทุกประตู ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่สามารถเข้าสนามบินได้ และมีผู้โดยสารตกค้างเป็นจำนวนมาก เพราะมีเที่ยวบินออกจากหาดใหญ่หลังจากนี้อีก 4 เที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ชุมนุมขณะนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กว่า 1,000 คน โดยทางแกนนำประกาศว่าจะชุมนุมยืดเยื้อไปจนถึงเวลาประมาณ 21.00น.คืนนี้ ซึ่งเป็นเที่ยวบินสุดท้ายที่จะขึ้นบินจากหาดใหญ่ นอกจากนี้ ทางแกนนำยังได้ประกาศชัยชนะในเบื้องต้น ที่สามารถปิดสนามบินได้สำเร็จ


โดย สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
29 สิงหาคม 2551

กบฎสนธิลิ้มหลุดปากมีไอ้โม่งบงการ แต่ตอนนี้หัวเน่าขอสู้โดดเดี่ยว





สนธิลิ้มหลุดปาก ใช้ประชาชนลุกฮือปฏิวัติให้ชนะเอง ไม่ยอมให้ไอ้โม่งคนไหนบงการต่อไปแล้ว นิสิตนักศึกษาจุฬา-ธรรมศาสตร์ออกแถลงร่วมกันประนามพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย เข้าข่ายก่อการกบฎ วอนนักศึกษาประชาชนอย่าเข้าร่วมมือ


วันนี้ (29 ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาประมาณ 13.40 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีเรียกร้องให้พี่น้องประชาชนจากต่างจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ รีบเข้ามาสมทบกับพี่น้องพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และทำเนียบรัฐบาลโดยเร็วที่สุด

“วันนี้เป็นวันตัดสิน เราต้องสร้างประชาภิวัฒน์ให้สำเร็จ และเราต้องสู้ด้วยตัวเอง เราจะไม่ยอมให้ใครมาบงการได้อีกต่อไป และวันนี้เราต้องชนะ พี่น้องต้องชนะ” นายสนธิ ระบุ

กปก.-อมธ. เรียกร้องพธม.ยุติการเคลื่อนไหว
ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายธีระนัย จารุวัสตร์ ตัวแทนกลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก (กปก.) และนายรักษ์นิรันดร์ ชูสกุล ประธานฝ่ายการเมือง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ประณามการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากเห็นว่า เป็นคณะก่อการเคลื่อนไหว ทำลายระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แกนนำพันธมิตรฯ ใช้การปฏิบัตินอกกฎหมาย เข้าข่ายกบฏ ทั้งต่อรัฐและวิถีทางประชาธิปไตย ตลอดจนแกนนำพันธมิตรฯ มีการปลุกระดม ใช้ข้อมูลเท็จ กล่าวหาป้ายสี ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงในการปราบปราม ไม่ได้ใช้หลักการ “อารยะขัดขืน” และ “สันติวิธี” ตามที่กล่าวอ้างมาโดยตลอด

ในนามของกลุ่ม กปก. และ อมธ. ขอเรียกร้องให้พันธมิตรฯ ยุติการยั่วยุ ปั่นป่วน โดยยืนยันว่า การออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นการออกมาโดยอิสระของกลุ่มนิสิต นักศึกษา ไม่ได้เป็นเครื่องมือของใคร และไม่กลัวที่จะถูกพันธมิตรฯ ป้ายสี ว่าเป็นลิ่วล้อของคนที่อยู่ประเทศอังกฤษ อีกทั้งขอให้เพื่อนนิสิต นักศึกษา ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองข้อมูลให้รอบด้าน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ผู้ใดต้องการเข้าเคลื่อนไหวกับพันธมิตรฯสามารถทำได้ แต่หากมีการกระทำที่ล้ำเส้นของการแสดงออกอย่างสันติ ควรรีบถอนตัว เพื่อความปลอดภัย

กลุ่มยุติธรรมไทย ยื่นศาลปกครองสูงสุด พิจารณายุติการออกอากาศ ASTV
























29 สิงหาคม 2551 เวลา 11.00 น.กลุ่มยุติธรรมไทย
ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้พิจารณายุติการออกอากาศของ ASTV
โดยคำร้องมีรายละเอียดดังนี้

===============================

เรื่อง ขอให้ศาลปกครองสูงสุด พิจารณายุติการออกอากาศของ ASTV

กราบเรียน ประธานศาลปกครองสูงสุด

สิ่งที่ส่งมาด้วย
1. สำเนาหนังสือเดลินิวส์ ฉบับที่ 21504 วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551
2. สำเนาหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับที่ 11128 วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551

ตามที่หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับที่ 21504 วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551 ได้ลงคำให้สัมภาษณ์ของพลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)สรุปความได้ว่า พลตรีจำลอง มีความกังวลว่า หากถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตามคำสั่งของศาลอาญา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551 ASTV จะไม่มีเงินรายได้มาจ่ายให้กับพิธีกร ดารา และเจ้าหน้าที่เทคนิค โดยพลตรีจำลองได้อธิบายว่า ASTV มีความสำคัญต่อ พธม.มากเพราะเป็นสื่อหลักในการสื่อสารปลุกระดมการชุมนุมมาแต่เริ่มต้น และพลตรีจำลองยังได้ยืนยันอีกด้วยว่า พธม.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในการดำเนินการของ ASTV และยังได้กล่าวว่า หากถูกจับกุม ก็จะโอนเงินรายได้ที่มีผู้อุปถัมภ์และประชาชนได้บริจาคให้ พธม. ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการออกอากาศของ ASTV (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1)

บัดนี้ ศาลอาญาได้อนุมัติออกหมายจับแกนนำ พธม.9 คน ประกอบด้วย

1. นายสนธิ ลิ้มทองกุล
2. พลตรีจำลอง ศรีเมือง
3. นายพิภพ ธงไชย
4. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
5. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
6. นายสุริยะใส กตะศิลา
7. นายอมร อมรรัตนานนท์
8. นายไชยวัฒน์ สินสุวงส์
9. นายเทิดภูมิ ใจดี

ว่ากระทำความผิด ตามมาตรา 113, 114, 215 และ 216 ในข้อหากบฏ อันเป็นความผิดที่ร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามคำฟ้องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ระบุว่า ผู้ต้องหาทั้ง 9 ได้ร่วมกับพวกกระทำการระดมประชาชนผ่านสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม ASTV โจมตีรัฐบาลและบุคคลอื่น เป็นเหตุให้ประชาชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง มาร่วมชุมนุมกับผู้ต้องหา ทั้ง 9 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2551 นำมาซึ่งความวุ่นวายในบ้านเมือง เกิดการกระทำที่ไม่เคารพต่อกฏหมายบ้านเมือง มีการบุกรุกสถานที่ราชการหลายแห่ง อาทิ ทำเนียบรัฐบาล มีการบุกรุกยึดสถานีโทรทัศน์ NBT เป็นต้น และได้บังคับขืนใจให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ หยุดปฏิบัติหน้าที่ การกระทำดังกล่าวทั้งหมดได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2)

ยิ่งไปกว่านั้น ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2551 กลุ่ม พธม.ยังได้ใช้สถานีโทรทัศน์ ASTV ออกอากาศให้ประชาชนทั่วประเทศ ขัดขืนคำสั่งของศาลอาญา ในเรื่องการจับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 9 คน และคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่ง ที่ได้มีคำสั่งให้ พธม.และประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ออกจาทำเนียบรัฐบาลโดยทันทีอีกด้วย

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ในขณะนี้ ASTV คือเครื่องมือของกลุ่มพันธมิตร ที่ใช้ต่อต้านอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการของประเทศไทย ถือได้ว่า เป็นการกระทำที่ชั่วร้าย เป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง หากไม่แก้ไข ประเทศไทยและสังคมไทย ก็อาจจะวิบัติได้

บัดนี้เป็นที่ประจักษ์ว่า การที่ศาลปกครองได้ให้การคุ้มครองชั่วคราวกับ ASTV ให้สามารถออกอากาศได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความแตกแยก และมีทัศนคติที่เกลียดชังกัน จนนำไปสู่การไม่ยอมรับกติกาของบ้านเมือง หากปล่อยปละละเลยโดยอ้างข้อจำกัด และกฏหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่แล้วเสร็จ ก็จะทำให้ผู้คนเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้ว่า ท่านและคณะ เป็นส่วนสำคัญของปัญหา

ดังนั้นพวกข้าพเจ้า จึงใคร่ขอท่านและคณะ ได้ใช้อำนาจหน้าที่พิจารณาให้ ASTV หยุดการออกอากาศเสียโดยทันที เพื่อเป็นการรักษาประเทศไทย อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคน ได้สามารถอยู่รอดปลอดภัย และดำรงอยู่ได้อย่างสง่างาม อีกทั้งท่าน ก็จะได้แสดงตัวตนที่แท้จริงได้ว่า มีความหวังดีต่อบ้านเมือง

ท้ายสุดนี้ ข้าพเจ้าและคณะหวังว่า สถาบันศาลปกครองจะเป็นเครื่องมือ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความยุติธรรมของประเทศ มิใช่เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดังที่ผู้คนหลายฝ่ายได้เข้าใจอีกต่อไป

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
กลุ่มยุติธรรมไทย

โดย ศูนย์ข่าว thaiEnews
29 สิงหาคม 2551

กองทะเบียนประวัติอาชญากรออกหมายจับกบฎพันธมิตร







คำถามแทงใจดำถึงนักวิชาการ,องค์กรต่างๆที่อ้าขาผวาปีกป้องกบฎพันธมิตร





ภายหลังจากที่พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (น่าจะเพื่อการรัฐประหารมากกว่า) ได้ใช้ยุทธการยึด NBT ใส่หน้ากากคล้ายขบวนการซาปาติสต้า ประเทศเม็กซิโก (ถ้ารองผู้บัญชามาร์กอสดูข่าว คงมึนหัวแน่ๆเลย เมื่อพวกขวาอนุรักษ์นิยมนำเอาสัญลักษณ์ความเป็นซ้ายใหม่ไปปรับใช้อย่างมั่วๆหรือเอาเพียงรูปแบบไปใช้มากกว่าเนื้อหา)

การยึดสถานที่ราชการ และการปักหลังยึดทำเนียบเป็นฐานที่มั่น ทำให้กลุ่มองค์กรต่างๆทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ นักสื่อสารมวลชน บางคนบางองค์กร ที่อ้างว่า “ภาคประชาชน” ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ผ่านการสัมภาษณ์ เวทีสัมมนา-อภิปราย จดหมายเปิดผนึก และแถลงการณ์




ผู้เขียนมีความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของผู้อ้างว่าสังกัด “การเมืองภาคประชาชน” บางส่วนดังนี้

1.การยึด NBT ของพันธมิตรฯ ยังมีบางองค์กรมีท่าทีที่คลุมเครือไม่ชัดเจน ยังพยายามอ้างว่า มีบางคนไม่ใช่คนของพันธมิตรฯเหมือนสุริยะใส สนธิ ให้ข่าว หรือพยายามที่จะแกล้งบอกให้ดูดีว่า ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีก่อน โดยมีธงในใจอยู่แล้วว่าไม่เกี่ยวพันธมิตรฯ เพราะไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ เพราะ “ถูกเบี้ยว” “ไม่มาตามนัด” และถ้ามาตามนัด อาจจะฉลองใหญ่ถึงการปฏิวัติโดยประชาชนไปแล้ว และคงยกย่องเชิดชูมอบเกียรติยศให้กับผู้เข้ายึด NBT เป็นฮีโร่ เช่นนั้นแน่

2.การพยายามเสนอให้รัฐบาล อย่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นจุดยืนที่ถูกต้อง สมควรกระทำยิ่ง แต่อีกด้านหนึ่งก็ไม่มีความพยายามจะบอกว่าพันธมิตรฯ ต้องหยุดสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง เช่นกัน ไม่ว่าทางคำพูดปราศรัย หรือการเคลื่อนไหวหมิ่นเหม่ต่อการให้เกิดการนองเลือด หรือการนำสู่การรัฐประหารที่เป็นความรุนแรงทางโครงสร้างของฝ่ายใดก็ตาม

3.มีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ต่อการที่เสนอให้รัฐบาลต้องยอมรับสิทธิการชุมนุมอย่างสันติวิธี ปราศจากอาวุธ และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แต่ก็ไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่า อย่างไหนเลยเถิดสันติวิธี อารยะขัดขืน ดื้อแพ่ง และเช่นไรไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนมากกว่าการเล่นคำภาษาไปมา

4.มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสื่อของรัฐโดยเฉพาะ NBT เสนอข่าวลำเอียงทางรัฐบาล แต่กลับไม่เคยตำหนิว่าการเสนอข่าวของ ASTV ปลุกปั่นสร้างข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง เหมือนไม่ได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน เช่นกัน ส่วนด้าน TPBS จำเป็นต้องตรวจสอบเช่นกันว่า เสนอข่าวสารข้อมูล เป็นทีวีสาธารณะจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงสื่อสารมวลชนอีกแห่งหนึ่งที่ถูกฉวยโอกาสให้รับใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะรู้ตัวไม่รู้ตัวตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

5.บางองค์กรเลยเถิดไปใหญ่มองว่า พันธมิตรฯ เป็นการเมืองภาคประชาชน ซึ่งถ้าหมายถึงการเคลื่อนไหวนอกระบบรัฐสภาเพื่อตรวจสอบถ่วงดุล ก็อาจจะยอมรับได้แต่ถ้าเคลื่อนไหวเพื่อล้มระบบรัฐสภา เพื่อการเมืองใหม่แบบโควตาอ้อย 70-30 ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลือกผู้ปกครอง แล้วผู้ปกครองมาจากไหนกัน ใครแต่งตั้ง หรือการเสนอให้อภิสิทธิ์ผู้นำฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นเสียงข้างมากในระบอบรัฐสภา

หรือเนื้อแท้แล้ว การเมืองภาคประชาชนมีทั้งเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย เพื่ออนุรักษ์นิยม และเพื่อการรัฐประหาร ก็จะได้นิยามกันใหม่ให้ชัดเจนในแวงวงวิชาการ วงการเคลื่อนไหวทั้งหลาย

6.การที่สส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสส.สอบตก สว.สายคมช. สว.ลากตั้ง อดีต สนช. สสร. ซึ่งล้วนเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ รัฐบาล ได้แสดงบทบาททางใดทางหนึ่งในลักษณะสังกัดฝ่ายพันธมิตรฯ ทำไมผู้อ้างว่า สังกัด “การเมืองภาคประชาชน” ไม่มีการแสดงบทบาทตรวจสอบถ่วงดุลย์คนเหล่านี้ด้วยอย่างที่น่าจะกระทำเหมือนตรวจสอบรัฐบาลอย่างเสมอหน้ากัน

7.หรือพวกเขาเหล่านั้น ล้วนสังกัด ไม่ทางใดทางหนึ่ง ของพันธมิตรฯ เพียงแต่ อ้างว่า “การเมืองภาคประชาชน” “เราพวกสองไม่” อย่างนี้ใช่ไหม ที่เขาเรียกกันว่า “ปากกับใจไม่ตรงกัน” หรือ”ปากว่าตาขยิบ” ก็ไม่ต่างกับนักการเมืองพรรคพลังประชาชนที่พวกเขาเกลียดเข้ากระดูกดำ

8.และอย่าลืมว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ถ้ามองเฉพาะส่วนเฉพาะประเด็น แบบตัดตอนเป็นเรื่องๆ ก็จะไม่สาวได้ถึงว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดมีเป้าชัดเจน เพื่อการเมืองใหม่ หรือ “เผด็จการแบบใหม่” นั้นเอง


โดย สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์
ที่มา ประชาไท
29 สิงหาคม 2551

จะหวังให้ 'ไพร่ทาส' สู้เพื่อเสรีภาพของ 'เสรีชน' นั้น เป็นไปไม่ได้




















คนเป็นไพร่ทาส ก็เพราะมีสันดานและจิตสำนึกแบบไพร่ทาส ถูกเลี้ยงดูมาอย่างไพร่ทาส เติบโตมาอย่างไพร่ทาส
คนพวกนี้ ทำเป็นอยู่อย่างเดียวคือ ทำตามคำสั่งของนาย และคอยเออออห่อหมกกับนาย
ต่อให้นายของตัวกระทำผิด เลวทรามเพียงใด ไพร่ทาสก็ไม่กล้าต่อล้อต่อเถียง
คนพวกนี้จะกล้าดี ก็เฉพาะกับคนอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับนายของตัว แต่กับนายของตัวหรือคน ของนายของตัว ไพร่ทาสมันจะเหงื่อตก ก้มหน้าด้วยความกลัว

คนพวกนี้แม้กระทั่งถูกนายดุด่า โบยตี อย่างไร้เหตุผลและไม่เป็นธรรม แต่ด้วยจิตสำนึกไพร่ทาส ที่ฝังลึกในกมลสันดาน มันก็จะก้มหน้า รับแต่โดยดี ไม่เคยแม้แต่จะนึกตั้งคำถามว่า ถูกดุด่าโบยตีด้วยข้อหา ที่เป็นธรรม ถูกต้อง หรือไม่
นั่นเพราะสันดานไพร่ทาส พอเห็นนายมอง ไปที่แส้หวายแค่นั้น มันก็เหงื่อแตก ตัวสั่นงันงก ก้มลงไหว้ปะหลก ๆ ร้องขอความเมตตาเสียงหลง

เสรีชนนั้น มีเสรี เพราะในจิตสำนึกและกมลสันดาน มีความเชื่อหยั่งลึก และไม่สงสัยเลยว่า "คนเรานั้นเท่ากัน"
สถานะ นาย กับ ลูกน้อง เป็นเรื่องของการงาน ที่ต้องมีลำดับชั้น ก็เพื่อไปบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน ไม่ใช่เรื่องดีเอ็นเอ
เสรีชน จึงยึดเอาความถูกต้องเป็นธรรมเป็นหลักการ
สำคัญที่สุด จุดจบของคนที่มีจิตสำนึกไพร่ทาส มีเพียงสองอย่างเท่านั้น ถ้าไม่รับใช้ นายจนตัวตาย ก็ต้องตายเพราะถูกนายเฆี่ยนตี
คนอย่างนี้ เวลาตาย ไม่มีใครเขาสังเวชให้ แม้แต่นายมัน ก็ยังไม่หันมาดู เพราะเป็นการตายของไอ้ไพร่ไร้ราคาคนหนึ่งเท่านั้น
เรื่องนี้สอนให้เสรีชนรู้ว่า มีแต่เสรีชนด้วยกันเท่านั้น ที่จะสู้เพื่อเสรีชน ด้วยกัน จะหวังให้ ไพร่ทาส มันมาสู้เพื่อเสรีภาพของเสรีชนนั้น เป็นไปไม่ได้

โดย Pichit Likitkijsomboon
29 สิงหาคม 2551

การเมืองใหม่ 70 / 30 ปฏิวัติประชาชน?






ชื่อของ "นักรบศรีวิชัย" กองกำลังสำคัญของ กลุ่มพันธมิตร ถูกจับไปเชื่อมโยงกับ "หทาร" ในหลายระดับ เพราะข้อมูลวงในบอกว่า กองกำลัง นี้ส่วนใหญ่มาจาก "กลุ่มพันธมิตรลุ่มน้ำฯ ปากพนัง" จ.นครศรีธรรมราช ถูกฝึกระดับจรยุทธแบบ "ทหาร" อยู่ภายใต้การบัญชาการสูงสุดของ " พล.ต.จำลอง ศรี เมือง" อดีต จปร.7 จึงถูกเชื่อมโยงกับ "เพื่อนจปร.7" ที่โด่งดัง

อย่างเช่น " พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต ที่ถูกลือว่าเกี่ยวสัมพันธุ์กับหลายเหตุการณ์ประวัติศาตร์(พฤษภาทมิฬ-กรือเซะ- คาร์บอมบ์ ) และ เชื่อมโยงกับเพื่อนสนิทของพล.อ.พัลลภ อย่าง "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ " อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรบ่อยๆ ผสาน กับ "ประสงค์ สุ่นศิริ" ผ่าน "ประพันธุ์ คูณมี" ... เหล่านี้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงว่าการเคลื่อนพลของกลุ่มพันธมิตรนี้ มีการวางไลน์โดย "กลุ่ม เพื่อนจำลอง" คือ "พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต -พล.อ.ปรีชา " และนายทหารรุ่นน้องอย่าง "พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์"




ปฏิวัติประชาชน?
ปฎิบัติการณ์ "เทหมดหน้าตัก" ของ "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เพื่อโค่นรัฐบาลสมัคร กลับกลายเป็น" กับดักความชอบธรรม" ที่รัฐบาลขุดหลุมล่อ ทำให้แกนนำพันธมิตรต้องจ่าย"ความผิดพลาดราคาแพง" ด้วยหมายจับจากตร.ฐานเป็นกบฎ!

26 สิงหาคม 2551 "กลุ่มพันธมิตร" ใช้แผนกลยุทธโจมตีรัฐบาล คล้ายกับแผนการก่อการปฎิวัติ ในครั้งที่ผ่านๆมา ไม่ว่าจะเป็น1.บล๊อกบริเวณ เส้นทางสำคัญ เหนือ-ใต้-อีสาน 2. การกระจายกำลังบุกยึดจุดสำคัญในกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ กระทรวง คมนาคม และที่ทำเนียบรัฐบาล(สัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ) 3.ยึดสื่อของรัฐ(สถานทีโทรทัศน์ NBT-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย )

จุดความผิดพลาดจากกรณี ยึด NBT แบบไม่เบ็ดเสร็จ(พยายามต่อสัญญาณของเอเอสทีวีเข้าสวมแทน แต่ไม่สำเร็จ) และการใช้กำลังของ "นักรบศรีวิชัย" กลายเป็นจุดบอด เป็นเข็มแทงย้อนศร "กลุ่มพันธมิตร" ด้วยคำถามว่า "สันติวิธี-อหิงสา " แบบไหน?

ชื่อของ "นักรบศรีวิชัย" กองกำลังสำคัญของ กลุ่มพันธมิตร ถูกจับไปเชื่อมโยงกับ "หทาร" ในหลายระดับ เพราะข้อมูลวงในบอกว่า กองกำลัง นี้ส่วนใหญ่มาจาก "กลุ่มพันธมิตรลุ่มน้ำฯ ปากพนัง" จ.นครศรีธรรมราช ถูกฝึกระดับจรยุทธแบบ "ทหาร" อยู่ภายใต้การบัญชาการสูงสุดของ " พล.ต.จำลอง ศรี เมือง" อดีต จปร.7 จึงถูกเชื่อมโยงกับ "เพื่อนจปร.7" ที่โด่งดัง

อย่างเช่น " พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต ที่ถูกลือว่าเกี่ยวสัมพันธุ์กับหลายเหตุการณ์ประวัติศาตร์(พฤษภาทมิฬ-กรือเซะ- คาร์บอมบ์ ) และ เชื่อมโยงกับเพื่อนสนิทของพล.อ.พัลลภ อย่าง "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ " อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรบ่อยๆ ผสาน กับ "ประสงค์ สุ่นศิริ" ผ่าน "ประพันธุ์ คูณมี" ... เหล่านี้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงว่าการเคลื่อนพลของกลุ่มพันธมิตรนี้ มีการวางไลน์โดย "กลุ่ม เพื่อนจำลอง" คือ "พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต -พล.อ.ปรีชา " และนายทหารรุ่นน้องอย่าง "พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์"

ผลพวงจากยึด NBT กระแสพันธมิตรกำลังถดถอย "สมัคร" กลับบอกว่าหมดความอดทนแล้ว ขู่ให้ตร.จัดการเด็ดขาด พร้อมบอกให้คนไทย-สื่อ " เลือกข้าง" กระแสของรัฐบาลที่กำลังจะขยับเพิ่ม กลับตกมาอยู่ในจุดเดิม หรือต่ำกว่าเดิมไปเรียบร้อย

จุดผิดพลาดต่อมาคือ การที่ พันธมิตรเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์ต่างๆได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะ "ที่ทำเนียบรัฐบาล" (ครั้งที่แล้วยกทัพมาแค่ประชิด หน้าประตูแต่ไม่ได้บุกเข้ามา) ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลทำเนียบเพียง5นาย เท่านั้น

เรื่องนี้กลายเป็น "กับดักความชอบธรรม" ที่รัฐ ปล่อยให้ พันธมิตรฯบุกเข้ามาโดยไม่มีการสะกัดกั้นแล้วตลบหลังออกหมายจับ(27 ส.ค.2551) ตามมาด้วยทนายความ สำนักนายกฯ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ให้ไต่สวนฉุกเฉิน มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กลุ่มพันธมิตรฯถอนทัพ

รัฐบาลกำลังย้อนรอย พันธมิตรในเรื่องของ "ตุลาการภิวัฒน์" ที่เคยเล่นงานฝ่ายรัฐ-นายใหญ่อย่างหนักหน่วง ครั้งนี้รัฐบีบให้ "ตุลาการ" ทำงาน เพื่อเป็นการกดดันในเรื่อง "2มาตรฐาน" ซึ่งในที่สุดศาลอาญาก็อนุมัติจับ9 แกนนำพันธมิตรฐานก่อกบฎ ตามมาด้วยศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว สั่งให้พันธมิตรถอนกำลังออกจากทำเนียบและพื้นที่โดยรอบ

เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ เมื่อคราวที่ "นักรบนปก." เคลื่อนพลบุกบ้านป๋าเปรม ในยุคของรัฐบาลทหาร ทำให้ฝ่ายรัฐใช้อำนาจผ่านตร. ออกหมายจับ (24 ก.ค.2550) นปก.9 คน(เช่นวีระ มุกสิกพงศ์ -จตุพร พรหมพันธ์-จักรภพ เพ็ญแข-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ) ใน3 ข้อหา คือมั่วสุมกัน ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาสั่งการหรือยั่วยุปลุกระดมให้กลุ่มบุคคลกระทำ การอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และต้องทำให้คนเหล่านี้ไปนอนในคุกในระยะเวลาสั้นๆ

แต่ของพันธมิตร โดน4ข้อหาคือ 1. การตระเตรียมการเป็นการกบฏ 2.มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง 3.ใช้กำลัง ประทุษร้ายขู่เข็ญหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และ4.ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่

และเมื่อย้อนไปดูเส้นทางการชุมนุมของพันธมิตรรอบ2 นี้จะพบว่าคล้ายคลึงกับการชุมนุมของนปก.ไม่น้อย ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อการก่อกำเนิด ของนปก.นั้นมาจากการชุมนุมในนามพีทีวี จากนั้นก็ขยับเป้าหมายการต่อสู้ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นต่อต้านรัฐประหาร ส่วนของพันธมิตรนั้น ในเบื้องต้นก็ชูธงในเรื่องคัดค้านการรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็แปรไปสู่เรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายข้าราชการ เรื่องเขาพระวิหาร จนมาถึง เรื่องย้ายรัฐสภาแห่งใหม่

เหล่านี้ทำให้ประเด็นของกลุ่มพันธมิตรส่ายไปส่ายมา เป็นความผันผวนที่ทำให้ไม่สามารถเรียกศรัทธาจากมวลชนได้มากเท่าครั้งที่ขับไล่นาย ใหญ่ ทำให้พลังของกลุ่มพันธมิตรไม่สูงพอทีจะเปลี่ยนแปลง อีกทั้งปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้เกิด "รัฐประหาร 19 ก.ย.49" นั้น คือ "ทหาร เอาด้วย" แต่คราวนี้ "ทหารไม่เอาด้วย"

เพราะ "สมัคร" จอมเก๋า นอกจากหลังจะพิงวังแล้วมือยังโอบขุนทหารไว้ด้วย เพราะตั้งแต่สมัครขึ้นสู่อำนาจก็พยายามใกล้ชิดกับผบ.ทบ. ที่กุม กำลังสูงสุด มีการเรียกใช้ผบ.ทบ. ออกงานบ่อยๆ แถมให้อำนาจเด็ดขาด ไม่เข้าไปก้าวก่าย ทำให้ซื้อใจทหารได้ และยิ่งช๊อตสุดท้าย ในบัญชี การโยกย้ายนายทหารปีนี้ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว นุ่มนวล และเมื่อพันธมิตรยึดทำเนียบ ก็ไปใช้ กองบัญชากองทัพไทยเป็นฐานบัญชาการ อันเป็นการโชว์ว่าแน่นปึกกับทหาร

มีเกจิการเมืองวิเคราะห์ว่าการที่กลุ่มพันธมิตร เลือก26 ส.ค. 2551เป็นวันดีเดย์นั้น คือวันที่ 30ส.ค. 2551 จะเป็นวันเปิดงาน " 116 วัน จากวันแม่สู่ วันพ่อ" ดังนั้นถ้าไม่รีบดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ถ้าไม่เคลื่อนไหวในช่วงวันเวลาดังกล่าว และถ้าไปเคลื่อนไหวหลังวันที่ 30 ส.ค.โอกาสที่จะถูกประนาม มีสูงยิ่ง

นอกจากนั้นก็มีการเชื่อมโยงว่าเป็นวันเกิดป๋าเปรม และเป็นวันที่ตัดสินโผทหาร และทางกลุ่มพันธมิตร ได้ข้อมูลทางลับมาว่าจะมีการขัดแย้ง ในโผทหาร ซึ่งนำมาสู่ความมั่นใจในการลงมือ แต่ "สมัคร" รู้ทัน ไม่แตะโผทหารเลยแม้แต่น้อย ให้อำนาจผบ.ทบ. เต็มๆ ให้ไปเคลี่ยร์กับอีก 2 เหล่ากันเอง ยิ่งเฉพาะในทัพอากาศ (เด็กของพล.อ.อ.ชลิต ผบ.ทอ.เข้าวิน) ซึ่งการลงตัวของขุนทหาร ทำให้ไม่เกิดการขยับอะไรทั้งสิ้น แม้จะมี ปัจจัยยั่วยุ หลายประการ

ทำให้กลุ่มพันธมิตรที่ต้องการจะให้เกิดการปะทะ ก็หวังเหวิด และ "ดูเหมือนกำลังรอให้ตร.มาจับกุมแกนนำ" หวังให้เกิดแรงเสียดทาน การ เผชิญหน้า อันเป็นเงื่อนไขให้ประชาชนออกมามากขึ้น และที่สำคัญต้องการให้ทหารออกมา

เพราะ ดูท่าทีแล้ว โอกาสที่ "สมัคร" จะถอดใจ ยอมแพ้ เป็นไปได้ยาก เพราะงานนี้รัฐบาลไม่ยอมลงมือก่อน ถอยสุดซอยไปเรื่อยๆ (26 ส.ค. เวลา 5 โมง ตร.ประกาศเส้นตายให้พันธมิตรออก จากทำเนียบก่อน 6โมงเย็น แต่ จนหมดวันที่ 27 ส.ค.ยังไม่การเข้าไปสลายการชุมนุนแต่อย่างใด )

และแม้กลุ่มพันธมิตรจะมีการตั้งแกนนำชุด 2ไว้รองรับ แล้ว แต่ดูจากชื่อชั้นก็ไม่มีพลังเรียกคนได้มากเท่ากับแกนนำชุดแรก ซึ่งก็จะเหมือนกับ ครั้งที่มีนปก.ชุด 2 ที่ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด ซึ่งแกนนำพันธมิตรชุด 2 ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันสักเท่าไร

มีหลายฝ่ายมองว่า กลุ่มพันธมิตรหาทางลง ด้วยการทำรัฐประหารโดยประชาชน ให้กลายเป็น "ปฎิวัติประชาชน" แต่ด้วยกระแสสังคม ความ สุกงอมของปัญหายังไม่เกิด แม้จะมีนายกฯที่พยายามสร้างชนวนแตกร้าวอยู่บ่อยๆ (อย่างล่าสุดให้เลือกข้าง) แต่ก็ยังไม่ความผิดที่สำเร็จเด่นชัดมากมาย ทางพันธมิตรเองก็การวางแผนผิดพลาด การประกาศศัตรูไปทั่ว

ยิ่งเฉพาะการก่อการในขณะที่ "ขบวนการตุลาการภิวัฒน์" ที่เชื่อว่า เป็นฝ่ายของอำมาตย์ กำลังทำงานอย่างเข้มข้น ผ่านคดีการเมืองหลายคดีทั้งที่ผ่านไปแล้ว (ที่แม้แต่นายใหญ่ยังต้องหลบฉากไปต่างแดน ) และ คดีที่ยังรอการตัดสินอีกในอนาคต (คดีชิมไปบ่นไป-ยุบพรรค) ซึ่งทำให้น้ำหนักของเหตุผลในการแตกหักของ กลุ่มพันธมิตร ดูจะเบางบางลง ไป

และล่าสุดเมื่อศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว สั่งให้พันธมิตรถอนกำลังออกจากทำเนียบและพื้นที่โดยรอบ( 22.00ของวันที่ 27 ส.ค.2551) แล้วทางพันธมิตรก็บอกว่าเคารพคำสั่งศาล แต่ขอปักหลักชุมุนุมต่อไป เพื่อขออุทธรณ์ในวันที่28 ส.ค.2551

ต้องจับตาว่ากลุ่มพันธมิตร จะหาประตุทางออกเจอหรือไม่ และออกอย่างไร?

แต่สุดท้ายไม่ว่า ปรากฎการณ์ "ปฎิวัติ ประชาชน" จะชนะ หรือแพ้ ก็ตาม แต่.ระบอบประชาธิปไตยและประเทศชาติ

โดย สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
29 สิงหาคม 2551

กบฎเหิมใส่ศาล "ภูวดล"กุ๊ยกระชากนักข่าวหญิงร่วง




ศาลแพ่งไม่รับคำขอทุเลาการบังคับคดี สั่งพันธมิตรฯต้องออกไปจากทำเนียบรัฐบาลทันที พร้อมติดป้ายห้ามเข้าทำเนียบฝ่าฝืนคำสั่งศาลมีโทษ ผู้ต้องหากบฎสุริยะใสขึ้นเวทีวิจารณ์ทันควันอ้าง2มาตรฐานไม่ยอมย้ายออก ขณะที่สื่อมวลชนงานเข้าของจริง"คุกคามสื่อคือคุกคามประชาชน"ทั้งด่าทอหยาบคาย "ภูวดล"ทิ้งคราบศาสตราจารย์สวมบทถ่อย กระชากนักข่าวสาวค่ายมติชนร่วง สมาคมสื่อยังเงียบเฉย

ติดป้ายห้ามเข้าทำเนียบ ฝืยผิดกฎหมาย

เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำแผงเหล็กติดป้ายผ้าระบุข้อความตัวใหญ่สีแดงว่า "ห้ามเข้าตามคำสั่งศาลผู้ฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย" จำนวน 5 อัน ขึ้นรถกระบะเพื่อนำไปติดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ โดยรอบทำเนียบรัฐบาลตามคำสั่งของ พ.ต.อ.วิชาญ บริรักษ์กุล รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 หลังศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ผู้ชุมนุมยังไม่ปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ได้มีสื่อมวลชนจำนวนมากไปสังเกตการณ์การติดตั้งแผงเหล็กดังกล่าวด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดเหตุความวุ่นวาย หากกลุ่มพันธมิตรไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าติดตั้ง

ศาลแพ่งไม่รับอุทธรณ์สั่งพันธมิตรออกจากทำเนียบท้นที
ก่อนหน้านี้ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ย้ายผู้ชุมนุมออกไปจากบริเวณทำเนียบรัฐบาล รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และเปิดการจราจร แต่อย่างไรก็ตาม ศาลได้มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไว้พิจารณา และนัดฟังคำสั่งในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

เมื่อเวลา 15.00 น. นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลแพ่ง ให้เพิกถอนคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว คดีที่นายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมืองกับพวกรวม6คน เป็นจำเลยที่ 1-6 ตามลำดับ ฐานละเมิด และฟ้องขับไล่ โดยศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้จำเลย และกลุ่มผู้ชุมนุม ออกจากทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งรื้อถอนเวทีปราศรัย และสิ่งปลูกสร้าง ออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยคำสั่งให้มีผลทันที

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ นายเมธี ใจสมุทร ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในคดีเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวกรวม6คน เป็นจำเลยร่วมกัน ฐานละเมิด และฟ้องขับไล่ เพื่อขอให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาล ต่อมาเวลา 16.30 น.ได้มีคำสั่งว่า หลังศาลได้พิเคราะห์คำร้องของทนายความโจทก์แล้ว เห็นว่า จำเลยทั้ง 6 และกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่ได้ออกจากพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล จึงให้ตั้งพนักงานบังคับคดี เพื่อไปดำเนินการตามคำสั่งศาลต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับกระบวนการตั้งพนักงานบังคับคดีต่อจากนี้ไป ศาลก็จะส่งหมายไปยังกรมบังคดี เพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ ตำรวจ เพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลต่อไป

นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีคงจะออกประกาศของกรมบังคับคดีไปปิดประกาศที่หน้าทำเนียบรัฐบาลไม่ทันในเย็นวันนี้ (28 ส.ค.) แต่หากเจ้าพนักงานปิดประกาศแล้ว ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ถ้ายังฝ่าฝืน สำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นโจทก์ จะต้องร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อร้องต่อศาลแพ่งขอให้ออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ อีกครั้ง

ยะใสเหิมละเมิดคำสั่งศาลวิจารณ์2มาตรฐาน
ขณะที่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ขึ้นปราศรัยโดยกล่าววิพากษ์วิจารณ์ คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินของศาลแพ่งที่ให้พันธมิตรฯออกไปจากทำเนียบรัฐบาล ว่า อยากให้นำคดีนี้ไปเทียบเคียงกับกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ ฟ้องในลักษณะเดียวกันเมื่อครั้งที่กลุ่มพันธมิตรฯไปชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ แต่ศาลแพ่งในขณะนั้น กลับระบุว่าไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลแพ่งและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา แต่ในครั้งนี้ ศาลแพ่งกลับออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ตนอยากตั้งคำถามว่าเป็นสองมาตรฐานใช่หรือไม่เขายังกล่าวอีกว่า ขอให้จับตาดูในคืนนี้ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิดโดยเฉพาะจากคนในอำนาจรัฐด้วยกันเอง

ผู้สื่อข่าวรายบรรยากาศการชุมนุมว่า มีผู้ชุมนุมจำนวนมากทั้งในเขตทำเนียบและบริเวณโดยรอบโดยพันธมิตรได้เข้มงวดกับคนที่เข้ามาร่วมชุมนุมในบริเวณทำเนียบโดยจัดให้มีทางเข้า-ออกเพียงทางเดียวเท่านั้นและมีการตรวจค้นอาวุธอย่างเข้มงวด

คุกคามสื่อต่อเนื่อง "ภูวดล"กระชากนักข่าวหญิงร่วง
ขณะเดียวกันมติชนรายงานข่าวว่า พันธมิตรฯตะเพิดสื่อ ด่าหยาบคาย ไม่ให้ทำข่าว "ภูวดล"กร่าง กระชากนักข่าวสาวมติชน แถมเรียกการ์ดให้ลากออกไป "สนธิ-พิภพ" รุดเคลียร์ พร้อมกันนักข่าวสาวออกจากพื้นที่ เกรงได้รับอันตราย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 28 สิงหาคม หน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้สร้างแนวป้องกันด้วยยางรถยนต์ ที่ประตู 9 ฝั่งสะพานอรทัย พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเพื่อสกัดกั้นตำรวจทั้ง เหล็กแป๊ป ไม้พลอง หนังสะติ๊ก ก้อนหิน ซึ่งทันทีที่รถตู้ตำรวจ และรถ 6 ล้อ สำหรับคุมขังนักโทษ ประมาณ 20 คัน เคลื่อนผ่านฝั่งตรงข้ามวัดโสมนัส ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้โห่ร้อง โดยระหว่างนั้นผู้สื่อข่าว 3 คน ประกอบด้วยนายมนตรี จิรพรพนิต หนังสือพิมพ์ข่าวสด นายสุทธา พิมาลัย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และน.ส.ศศินภา วัฒนวรรณรัตน์ หนังสือพิมพ์มติชน ที่ขึ้นไปสังเกตการณ์อยู่บริเวณทางเชื่อมอาคารบัญชาการ 1 และ 2 ได้ถูกการ์ดพันธมิตรฯไล่ลงข้างล่างให้หมด

ทำให้ผู้สื่อข่าวทั้งสาม ได้ชี้แจง พร้อมกับโชว์บัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวว่าเป็นสื่อมวลชน ขอสังเกตการทำหน้าที่รายงานตรงจุดนี้ ทางการ์ดพันธมิตรฯบอกว่า ไม่สนเพราะกลัวว่าจะเป็นนปก.ปลอมตัวมา ถ้าไม่ลงจะใช้หนังสติ๊กยิง จากนั้นได้มีรปภ.ของพันธมิตรฯ 2 คนขึ้นมาเชิญตัวลงไป แต่ผู้สื่อข่าวได้ยืนยันว่า จะขอสังเกตการณ์ต่อไปโดยยืนยันว่าสามารถดูแลตัวเองได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เจรจากับการ์ดพันธมิตรฯเป็นที่เรียบร้อย ปรากฎว่า นายภูวดล ทรงประเสริฐ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ ได้ขึ้นมายังบริเวณดังกล่าวด้วยอาการเกรี้ยวกราด พร้อมกับชี้หน้าไล่ผู้สื่อข่าวให้ลงไปด้านล่าง และด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย โดยไม่ฟังคำชี้แจงใดๆ รวมทั้งได้กระชากตัว น.ส.ศศินภา อย่างรุนแรง ทำให้เพื่อนนักข่าวอีกสองคน ต้องเข้าไปกันเอาไว้พร้อมกับบอกว่า ทำอย่างนี้ไม่เหมาะสม เพราะน้องเป็นนักข่าวผู้หญิง จนทำให้น.ส.ศศินภา ร้องไห้ด้วยความตกใจในท่าทีของนายภูวดล ซึ่งนายภูวดล ได้เอ่ยปากขอโทษ แต่ก็ขู่ว่าจะลงดีๆหรือไม่ ถ้าไม่ลงจะตามรปภ.มาไล่ให้ลงไป เพราะมันอันตราย ผู้สื่อข่าวทั้งสามจำเป็นต้องลงมาด้านล่าง ซึ่งนายภูวดล ตะโกนสั่งทีมรปภ.ไล่หลังว่า "ให้เอาพวกมันลงไป"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนั้นกลุ่มพันธมิตรประมาณ 10 กว่าคนกรูกันขึ้นไปชั้นบน โดยมีหญิงกลางคน ตะโกนใส่หน้าผู้สื่อข่าวว่า เอาลงไปเลย และขณะที่กลุ่มผู้สื่อข่าวเดินลงจากชั้นสอง กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านล่างพากันตะโกนไล่ กระทั่งเพื่อนผู้สื่อข่าวที่ทราบเรื่องต้องมาช่วยกันพากลับเข้าห้องผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบ แต่ก็มีมวลชนจากพันธมิตรฯฮือมาล้อมที่ห้องผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล จนผู้สื่อข่าวต้องขอร้องให้การ์ดพันธมิตรฯมาช่วยรักษาความปลอดภัย และได้ปิดประตูล็อคกลอนทุกด้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้แจ้งให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งว่า น.ส.ศศินภา ต้องการจะกลับบ้านแต่รถของบริษัท จอดอยู่บริเวณที่เกิดเรื่องเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย นายสนธิได้อาสาพาตัวน.ส.ศศินภา ไปส่งขึ้นรถกลับบ้าน

จากนั้นนายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯได้มาเจรจากับผู้สื่อข่าว ที่รังนกกระจอกใหม่ โดยนายพิภพได้กล่าวขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางคน ที่ทำให้เกิดปัญหา ยอมรับว่า มีการ์ดบางส่วนไม่เข้าใจว่า นักข่าวที่ติดบัตรสื่อมวลชนต้องการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น จึงขอให้การ์ดเข้าใจและปฏิบัติตัวกับนักข่าวที่มีบัตรสื่อมวลชนอย่างให้เกียรติ ก่อนที่จะมีการกล่าวหาใดๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการ์ดเกรงว่า จะมีฝ่ายตรงข้ามแฝงตัวมากับนักข่าว ดังนั้น หากมีปัญหาในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ขอให้ติดต่อกับแกนนำได้ 24ชั่วโมง จะแก้ปัญหาให้ทันที แต่รับประกันไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า เรื่องเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะการ์ดมีหลายประเภท แต่รับปากว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้

ทั้งนี้ ทางผู้สื่อข่าวได้ขอให้กลุ่มพันธมิตรฯกรุณาให้สื่อมวลชนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย และให้เกียรติในการทำงาน เพราะผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ขอให้ความคุ้มครองสื่อเพราะไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ

การ์ดพธม.เกือบลุยนักข่าวอีก อ้างล้าเพราะอดนอน
ขณะเดียวกัน เวลา 15.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายชัยรัตน์ พัชรไตรรัตน์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า กำลังเดินสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณแยกมิสกวัน ได้มีชายรูปร่างสูงใหญ่คนหนึ่งเดินเข้ามาด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย ทำให้ นายชัยรัตน์ต้องเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ชายคนดังกล่าวกลับไปยอมหยุดต่อว่า นายชัยรัตน์จึงแสดงบัตรสื่อมวลชนให้ดู ทว่ากลับทำให้ชายคนดังกล่าวเกรี้ยวกราดมากขึ้น และปรี่เข้ามาจะทำร้าย แต่หน่วยรักษาความปลอดภัยของกลุ่มพันธมิตรที่อยู่ใกล้เหตุการณ์ได้เข้ามาห้ามปราม และพยายามพูดคุยนานกว่า 15 นาที ชายคนดังกล่าวจึงสงบลง และยอมขอโทษแต่โดยดี พร้อมชี้แจงว่า เนื่องจากไม่ได้นอนหลายวันติดต่อกัน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า และกดดัน คิดว่า นายชัยรัตน์เป็นตำรวจแฝงตัวมาหาข่าว ประกอบกับเกิดกระแสข่าวว่า จะมีบุคคลที่ 3 แฝงตัวมาก่อความวุ่นวาย จึงแสดงอาการดังกล่าว

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 สิงหาคม 2551

ประนาม บุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตย:พัลลภ ปิ่นมณี





แม้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าใครจะได้เป็นทายาทรุ่นที่2หากแกนนำพันธมิตรชุดแรกถูกจับกุมตัว โดยตอนแรกมีข่าวว่าจะเป็นนายสำราญ รอดเพชร โฆษกเวทีพันธมิตร คนใกล้ชิดนายสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ล่าสุดพลตรีจำลอง ศรีเมือง เปิดตัวว่าจะเป็นเพื่อนรักของเขาคือพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ซึ่งมีประวัติอื้อฉาวถูกกล่าวหาในหลายกรณีทั้งเหตุการณ์ก่อกบฎ1เมษายน2524,เหตุการณ์ลอบสังหารบุคคลสำคัญ รวมทั้งความพยายามลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินี,เหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร,เหตุการณ์สังหารหมู่มัสยิดกรือเซะห์ จนทำให้ไฟใต้ร้อนระอุมาจนถึงขณะนี้ และที่สำคัญการจุดชนวนเลือดในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

เราจึงต้องจัดให้พลเอกพัลลภเข้ามาอยู่ในทำเนียบประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทย

*ชมคลิปวิดิโอพัลลภให้สัมภาษณ์สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นคนวางแผนจุดชนวนเลือดพฤษภาทมิฬhttp://video.mthai.com/player.php?id=6M1179828395M0


พัลลภ"รับไม้"จำลอง"ลั่นใช้แผนเผาเมืองเลียนแบบพฤษภาทมิฬ
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เพื่อนตาย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศจะขึ้นเวทีเพื่อขับไล่รัฐบาลและนายกฯ ออกจากตำแหน่ง หากพล.ต.จำลองถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมขัง

"ผมจะพูดขึ้นเวทีก็ต่อเมื่อ พล.ต.จำลองถูกเจ้าหน้าที่จับกุม การขึ้นเวทีครั้งนี้ถือเป็นสัญญาใจที่ผมกับจำลองที่เป็นเพื่อนรักเพื่อนตายกันมา ได้มีสัญญาอยู่ 2 ข้อ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อพล.ต.จำลองถูกจับกุม ผมก็จะเข้าไปแทน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น การปฏิบัติการ 3 วันก็จบ ซึ่ง 2 ข้อที่ผมได้สัญญาไว้กับพล.ต.จำลองคือ ถ้าวันใดที่จำลองโดนตำรวจจับผมจะเข้าไปแทนทันที และที่ พล.ต.จำลอง ใช้ยุทธวิธีสันติวิธีแบบอหิงสา ซึ่งมันไม่ตรงกับผม แต่ผมจะใช้ยุทธวิธีปฏิบัติการรุก ซึ่งผมได้ตกลงกับจำลองมาตั้งนานแล้ว" พล.อ.พัลลภ กล่าว

พล.อ.พัลลภ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อศาลอนุมัติออกหมายจับพล.ต.จำลองก็ถือว่าเข้าข่ายข้อหนึ่งที่ตนได้ตกลงไว้ การไปเข้าร่วมครั้งนี้ถือเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย และเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ตนไม่ได้มาเพิ่งตัดสินใจที่จะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แต่ได้ตัดสินใจมานานแล้วตามที่ได้ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตามการที่ขึ้นเวทีครั้งนี้ก็ไม่ได้กลัวต่อภาพลักษณ์ที่ผ่านมา หากพล.ต.จำลองถูกจับสถานการณ์คงวุ่นวายแน่ เพราะคำพูดของตนชัดเจนอยู่แล้ว สำหรับยุทธวิธี ตนจะใช้วิธีรุก คงจะไม่ใช้วิธีตั้งรับเหมือนกับพล.ต.จำลอง

ถามว่า รัฐบาลและนายกฯควรจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ใช่ และตนมีวิธีที่จะให้รัฐบาลและนายกฯลาออก แต่ตนคงบอกไม่ได้ ซึ่งคาดว่าจะปฏิบัติการเพียง 3 วัน รัฐบาลก็ต้องลาออกยกชุดแล้ว เพราะยุทธวิธีรุกไม่เหมือนยุทธวิธีรับของพล.ต.จำลอง

"วันใดที่พล.ต.จำลองถูกจับเข้าคุก ผมจะขึ้นเวทีเพื่อประกาศชัยชนะให้กับพันธมิตรฯทันที"พล.อ.พัลลภกล่าว

ย้อนรอยกรรมชั่วจุดชนวนเลือดพฤษภาทมิฬ
พล.อ.พัลลภให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ด้วยความภาคภูมิใจมาตลอดว่า ในคราวเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในปี 2535นั้นเขามีส่วนทำให้พล.ต.จำลองประสบชัยชนะ โดยเขาได้พูดกับจำลองว่าต้องเดินแผนให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดา คราประยูร ในขณะนั้นใช้กำลังจับกุมจำลอง "พอจับจำลองปุ๊บ ผมก็พูดเลยว่าเราชนะแล้ว"

พล.อ.พัลลภเผยว่า ได้วางแผนให้หน่วยย่อยที่ฝึกมาอย่างดีในการต่อต้านรัฐบาลพล.อ.สุจินดา โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา ในการช่วยทำระเบิดขวดที่บรรจุน้ำมันเพื่อนำไปปาใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนางเลิ้ง จนเป็นเหตุให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย จนพล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องหันมาใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม จนประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

เป็นที่น่าสังเกตว่าในคราวนี้พล.อ.พัลลภก็พูดเป็นนัยว่าอยากให้มีการจับพล.ต.จำลอง แล้วเขาก็จะประกาศชัยชนะ และรุกฆาตรัฐบาลภายใน 3 วัน

ส่วนชัยชนะครั้งนี้จะปูลาดไปด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์อีกครั้งหรือไม่ หรือใครจะมาหยุดแผนชั่วของพัลลภลงก่อน นั่นเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดู

ก่อกบฎเมษาฮาวาย-เหิมเกริมพยายามลอบปลงพระชนม์ราชินี
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี มีตำแหน่งสุดท้ายทางราชการ เป็นรองผู้อำนวยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 (จปร.7) เคยร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิต พ.อ.มนูญ รูปขจร ยศในขณะนั้น ทำการปฏิวัติ “เมษาฮาวาย”โค่นอำนาจ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 2524 มาแล้ว แต่ล้มเหลว กลายเป็นกบฎ

พล.อ.พัลลภกับพวกแค้นพล.อ.เปรม,พล.อ.อาทิตย์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวหาอย่างไม่มีมูลแม้แต่น้อยว่าพระองค์ท่านมีส่วนสำคัญให้พวกตนพ่ายแพ้กลายเป็นกบฎ ดังนั้นถัดมาอีก 1 ปี กลุ่มที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับยังเติร์ก ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก จึงประสบเหตุการณ์ 'ลอบสังหาร' เป็นระลอกๆ และไม่เพียงเฉพาะบุคคลทั้งสอง หากยังมีรายงานของฝ่ายความมั่นคงระบุว่า ได้มีการตระเตรียมการที่จะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกด้วย รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2525 กลุ่มยังเติร์ก ลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ในงานยกช่อฟ้า วัดจิระ อ.เมือง จ.ลพบุรี แต่ไม่สำเร็จ

ครั้งที่ 2 วันที่ 8-25 มีนาคม 2525 กลุ่มยังเติร์กกับพวก วางแผนลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ ขณะเดินทางไปเยี่ยมท่าน ผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก ซึ่งป่วยและรักษาอยู่ใน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แต่ล้มเหลวอีกครั้ง

ครั้งที่ 3 วันที่ 5 พฤษภาคม 2525 กลุ่มทหารยังเติร์กกับพวก ใช้รถบรรทุกระเบิดไปจอดที่หน้าโรงเรียนพณิชยการสันติราษฎร์ในเส้นที่ทาง พล.อ.อาทิตย์เดินทางผ่าน ไปทำงาน เพื่อลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ โดยใช้คลื่นวิทยุบังคับจุดระเบิด แต่รถได้เกิดระเบิดขึ้นก่อนที่ พล.อ.อาทิตย์จะผ่านไป

ครั้งที่ 4 วันที่ 3 มิถุนายน 2525 กลุ่มนายทหารยังเติร์กกับพวก ได้วางแผนลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ ขณะไปทอดกฐินที่วัดแก้วนิมิตร อ.เมือง จ.ลพบุรี แต่ไม่สำเร็จ

ครั้งที่ 5 วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2525 กลุ่มทหารยังเติร์กกับพวก วางแผนลอบสังหาร พล.อ.เปรม ขณะเดินทางไปเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี แต่กระสุนจรวด 66 เอ็ม -72 พลาดเป้าหมายไปเพียงเล็กน้อย

ครั้งที่ 6 วันที่ 1 ตุลาคม 2525 กลุ่มยังเติร์ก ตระเตรียมการที่จะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลควีนสคัพ ที่สนาม กีฬาแห่งชาติ

ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2525 กลุ่มยังเติร์กและพวก วางแผนลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ ขณะเดินทางไปทอดกฐินที่วัดหน้าพระเมรุ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ไม่สำเร็จ

ครั้งที่ 8 วันที่ 20 ตุลาคม 2525 กลุ่มยังเติร์กได้วางแผนลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ พล.อ.เปรม และตระเตรียมการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีปิดการแข่งขันฟุตบอลควีนสคัพ ที่สนามกีฬาแห่งชาติ กทม.

ครั้งที่ 9 วันที่ 31 ตุลาคม 2525 กลุ่มยังเติร์ก ลอบสังหาร พล.อ.อาทิตย์ ซึ่งจะเดินทางไปทอดกฐินที่วัดศรีสุทธาวาส อ.เมืองเลย แต่ไม่สำเร็จ

ในวันที่ 14 กันยายน 2527 มีการออกหมายจับผู้ต้องหาคดีลอบสังหาร จำนวน 43 คน รวมทั้งแกนนำกลุ่มยังเติร์ก ด้วย เช่น คือ พ.อ.มนูญ รูปขจร และพ.อ.บุลศักดิ์ โพธิ์เจริญ พ.อ.พัลลภ ปิ่นมณี พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (ยศในขณะนั้น)

กระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2536 คดีประวัติศาสตร์”วันลอบสังหาร” ก็สิ้นสุดลง เมื่อศาลอาญายกฟ้องโดยศาลวินิจฉัยว่าไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่าเพราะมีการประนีประนอมกันระหว่างฝ่ายยังเติร์ก กับฝ่ายพล.อ.เปรมได้แล้ว

สังหารหมู่มัสยิดกรือเซะห์ส่งผลไฟใต้โหมกระพือ

ในยุครัฐบาลทักษิณ เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นเรื่องน่าวิตกของคนในชาติ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ก็มีส่วนทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อครั้งนายทหารผู้นี้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รองผอ.กอ.สสส.จชต.) ในปี 2547 ได้เข้าปราบปรามผู้ก่อเหตุที่บุกยึดมัสกรือเซะห์ โดยครั้งนั้น พล.อ.พัลลภ ได้สั่งให้กองกำลังทหารเข้าใช้กำลังด้วยการสังหารหมู่กลุ่มบุคคลที่อยู่ในมัสยิดกรือเซะห์ทั้งหมด ทั้งที่หลายฝ่ายพยายามท้วงติงให้ใช้วิธีการเจรจาเป็นทางออก

จนเป็นเหตุให้ไฟใต้ขยายวงออกไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

จับคนขับรถพัลลภพัวพันลอบสังหารทักษิณ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราว 09.00 น.ของวันที่ 24 ส.ค.2549 คือความพยายามลอบสังหารด้วย"คาร์บอมบ์"ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในเบื้องต้นมีการจับกุม ร.ท.ธวัชชัย กลิ่นชนะ ผู้ขับรถคาร์บอมบ์คันดังกล่าว(คนๆนี้เคยเป็นทหารชั้นประทวน เป็นคนขับรถของพัลลภ ต่อมาพัลลภสนับสนุนให้เป็นทหารชั้นสัญญาบัตร จึงยินดีมอบกายถวายชีวิตตอบแทนนายเต็มที่) ต่อมามีการจับกุมนายทหารในกอ.รมน.ใต้สังกัดของพัลลภไปหลายราย แต่มีเพียงจ่ายักษ์อยู่คนเดียวที่ให้การรับสารภาพหมดไส้หมดพุงซัดทอดนายทหารอีก 4 คนว่า เป็นผู้ร่วมขบวนการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ และหากสังหารไม่สำเร็จจะทำปฏิวัติ

ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น เพราะหลังเหตุการณ์คาร์บอมบ์ไม่ทันถึงเดือน ก็มีการทำรัฐประหาร 19 กันยายน2549

ทั้งหมดนี้คือพฤติการณ์ชั่วที่พัลลภ เพื่อนรักของจำลองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพัน หรือถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง เป็นพล.อ.พัลลภที่กำลังจะขึ้นมาเป็นผู้นำพันธมิตรรุ่น 2 โดยประกาศว่าจะใช้วิธีแบบพฤษภาทมิฬ2535 นั่นคือชัยชนะที่ปูลาดด้วยเลือดเนื้อชีวิตผู้บริสุทธิ์

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 สิงหาคม 2551

ประนาม บุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทย:9กบฎโทษสูงสุดประหารชีวิต





ไฮ!-สนธิ ลิ้มทองกุล ท่านผู้นำขบวนการพันธมิตรนำทีม9แกนนำ โดนศาลอาญาสั่งออกหมายจับฐานเป็นกบฎ โทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ล่าสุดยังไม่ยอมจำนน ปลุกระดมสาวกบริวารดื้อแพ่ง ขณะที่นักศึกษาประชาชนทั่วประเทศออกแถลงการณ์ประนาม และผลสำรวจโพลล์ต่างๆไม่เอาด้วย

ประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทย งวดนี้มาเป็นยวงรวม9คน ศาลอาญาออกหมายจับข้อหาขบถแผ่นดิน โทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต 5แกนเน่า+ยะใสพ่วงด้วยเทิดภูมิส.ส.สอบตก และอมร อมรรัตนานนท์ที่นำทีมยึดNBT

เมื่อวานนี้(27ส.ค.)ศาลอาญาได้พิจารณาคำร้องขอพนักงานสอบสวน สน.สุทธิสารและคณะแล้วมีคำสั่ง ว่าโดยพิเคราะห์พฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้ง 9 ตามที่พยาน ผู้ร้อง ได้ให้การประกอบหลักฐานวีซีดีที่นำส่งแล้วเห็นว่ามีพยานหลักฐานพอสมควรให้เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาทั้ง 9 น่าจะกระทำการอันเป็นความผิดอาญาตาม คำร้อง จึงอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 9 ตามคำขอ

ผู้ต้องหาทั้ง9ราย ประกอบไปด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตร นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร นายอมร อมรรัตนานนท์ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ นายเทิดภูมิ ใจดี แนวร่วมพันธมิตร

ทั้งนี้เนื่องจากผู้ต้องหาที่ 1-9 ฐานใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, สะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี มาตรา 114, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216

กางข้อหาเอาผิด 9 "พันธมิตร" ระวางโทษประหาร!

ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระบุ มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจการปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฏ หรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฏ แล้วกระทำการอันใดเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี

ลักษณะความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

มาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ใดกระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำผิดนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามาตรา 215 ให้เลิกแล้ว ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุก

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 สิงหาคม 2551

นักศึกษาออกแถลงการณ์ประนามพันธมิตรยึดเมืองจุดชนวนรัฐประหารล้มล้างประชาธิปไตย


สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)และองค์กรภาคี คือ กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง, องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี), สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.), สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.), เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) และกลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก ออกแถลงการณ์ประณามการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ วอนหยุดสร้างเงื่อนไขนำไปสู่รัฐประหาร

ขณะเดียวกัน กลุ่มนักศึกษาปริญญาโทเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ(ปรส.)และ
สำนักเรียนรู้การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยท้องถิ่น ก็ออกแถลงการณ์ อีกฉบับหนึ่งประนามพันธมิตรว่ามีเบื้องหลังการชุมนุมเพื่อให้เกิดรัฐประหาร

......................................

แถลงการณ์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรภาคี

เรื่อง ขอประณามการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จากเหตุการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 แม้ว่าการชุมนุมและการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนหรือกลุ่มองค์กรต่างๆ เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่การชุมนุมหรือการเคลื่อน ไหวเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย กรอบสิทธิของรัฐธรรมนูญและต้องไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนในสังคม


แต่ในขณะนี้การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กระทำการที่เป็นการละเมิดกรอบและบทบัญญติของกฎหมายด้วยการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการ สถานีโทรทัศน์ การใช้กำลังคุกคามเจ้าหน้าที่ของรัฐ และใช้กำลังคุกคามสื่อมวลชน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการกระทำที่จะนำพาและก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งยังเป็นการขัดแย้งในจุดยืนในการชุมนุมและการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเองว่าจะใช้หลัก สันติวิธี ปราศจากอาวุธและหลัก อหิงสา

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรภาคี มีความคิดเห็นต่อสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

1.ขอประณามการกระทำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ใช้กำลังและความรุนแรงในการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการและสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นการละเมิดกรอบและบทบัญญัติของกฎหมาย อันจะนำไปสู่การสร้างค่านิยมทางการเมืองว่าในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองต้องจบลงด้วยการใช้กำลังและความรุนแรง

2.ขอเรียกร้องให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยุติการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่จะนำไปสู่การรัฐประหารเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

3.ขอเรียกร้องให้รัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้ความอดทนอดกลั้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงอันจะนำไปสู่การเสียเลือดเนื้อของพี่น้องคนไทยด้วยกันเอง

4.ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักอันจะนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ

สุดท้ายนี้สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรร่วมภาคีหวังว่าปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมในขณะนี้จะสามารถคลี่คลายลงด้วยแนวทางสันติวิธีและความสมานฉันท์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนของสังคมไทยจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงและในทางที่ถูกต้องเพื่อนำมาสู่ความสามัคคีของคนในชาติที่ยั่งยืน

ด้วยจิตสมานฉันท์

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และองค์กรภาคี
กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)
เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.)
กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก

27 สิงหาคม 2551
................


แถลงการณ์ ปรส. : ต้านภัยรัฐประหาร



การชุมนุมของพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้ ย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่า พันธมิตรฯมีเบื้องหลังการชุมนุมเพื่อต้องการให้มีการรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะอ้างว่า เพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือสร้างการเมืองใหม่ หรือกู้ชาติ หรือเหตุผลใดๆก็ตามที่กล่าวอ้าง

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อเคารพสิทธิมนุษยชน

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิการรวมกลุ่มกันของประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อเคารพสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชน

บทเรียนประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยและทั่วโลก เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหารเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และการถูกละเมิดสิทธิของประชาชน

ดังนั้น เราต้องปกป้องประชาธิปไตยรัฐสภา แม้ว่ามีข้ออ่อนในหลายประการที่ต้องหาแนวทางแก้ไข แต่มิใช่แนวทางรัฐประหารหรือข้อเสนอของพันธมิตรฯด้วยความอดทน และขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีหัวใจรักประชาธิปไตย รวมพลังเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆอย่างสันติวิธีเพื่อคัดค้านภัยรัฐประหาร



ด้วยความเชื่อมั่นพลังประชาธิปไตย

กลุ่มนักศึกษาปริญญาโทเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ(ปรส.)

สำนักเรียนรู้การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยท้องถิ่น


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 สิงหาคม 2551

กระบอกเสียงลิ้มปูดแผนพันธมิตรตั้งรัฐบาลเถื่อน หากแผนยึดเมืองประสบชัยชนะ





ประเด็นสำคัญที่สื่อเครือผู้จัดการ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตร เปิดเผยเป็นนัย(hint)ออกมาในบทวิเคราะห์นี้ก็คือว่า พันธมิตรอาจได้เตรียมการตั้งรัฐบาลของตนขึ้นแทนรัฐบาลนายสมัคร หากว่าปฏิบัติการยึดเมืองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ





หมายเหตุ:ผู้จัดการรายสัปดาห์นำเสนอบทวิเคราะห์ข่าวเรื่อง"แฉสัมพันธ์ ‘สมัคร-อนุพงษ์’ แน่นปึ้ก เดินเกมลึกเช็คบิล ‘5 พันธมิตร’ "โดยได้โปรยข่าวว่า ‘สมัคร’ เดินเกมเหนือเมฆ สวมมาดนิ่งปล่อยพันธมิตรฝ่อไปเอง ซ้อนแผนรอซ้ำดาบ 2 งัดก.ม.อาญาเอาผิดผู้ชุมนุม เตรียมไพ่ตาย“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” หากม็อบชุมนุมยืดเยื้อ ฟากนักรัฐศาสตร์ เผย สังคมยังไม่เอาด้วยหากพันธมิตรหักดิบตั้งรัฐบาลแข่ง เหตุมานอกระบบ ‘ขรก.ทหาร-ประชาชน’ ไม่ยอมรับ ขณะที่อดีตแม่ทัพภาค 4 ชี้ หากกองทัพยังนิ่ง พันธมิตรฯชนะลำบาก เพราะ ตัวตัดสินคือ ทหารต้องลงมือ เชื่อ สายสัมพันธ์ ‘สมัคร-อนุพงษ์’ แน่นปึ๊ก

ประเด็นสำคัญที่สื่อเครือผู้จัดการ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตร เปิดเผยเป็นนัย(hint)ออกมาในบทวิเคราะห์นี้ก็คือว่า พันธมิตรอาจได้เตรียมการตั้งรัฐบาลของตนขึ้นแทนรัฐบาลนายสมัคร หากว่าปฏิบัติการยึดเมืองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ

เชิญอ่านบทวิเคราะห์ชิ้นนี้...

รบยืดเยื้อ รอ ‘พธม.’ฝ่อ

รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต อดีตรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้มุมมองต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯและรัฐบาลว่า ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลจะใช้ในเวลานี้ ก็คือ การเดินเกมรบยืดเยื้อโดยปราศจากความรุนแรง เนื่องจากขณะนี้ การเดินเกมโดยใช้ความรุนแรง เริ่มต้นมาจากกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่รัฐบาลยังเลือกที่จะใช้ความสงบเพื่อสยบความเคลื่อนไหว โดยต่อจากนี้ไปจะให้อำนาจสังคมเป็นผู้ตัดสิน

“การเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล กระทรวงต่างๆ ก็เป็นเพียงความเคลื่อนไหวที่ไม่มีผลในการกดดันมากเท่าไหร่ เนื่องจากได้เพียงสถานที่เท่านั้น แต่คณะทำงานฝ่ายรัฐบาลยังคงทำงานได้”

ประเด็นสำคัญ ที่ต้องมองก็คือ ภาพของความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการบั่นทอนความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเพียงใด ความเชื่อถือ ความชอบธรรม และการเดินเกมการเมืองในแนว“สันติ อหิงสา” ที่พันธมิตรประกาศ ในทุกครั้งก็จะลดน้ำหนักลง ซึ่งรัฐบาลก็จะปล่อยให้กลุ่มพันธมิตรเป็นผู้ทำลายความเชื่อถือของตนเองไปทีละนิด

กระนั้น กรณีที่การชุมนุมทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลอาจเลือกใช้กฎหมายบางฉบับขึ้นมาใช้ รวมถึงการยกเลิกรัฐธรรมนูญในบางมาตราเป็นแนวทางสุดท้ายในการสกัดกั้นการชุมนุมที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ต่างไปจากการรัฐประหารมากเท่าใดนัก หากแต่รัฐบาลจะยังคงเป็นรัฐบาลชุดเดิมนั่นเอง

ตั้งรัฐบาลเสียบหมักไร้ความชอบธรรม

อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ขึ้นมาทำหน้าที่บริหารประเทศแทนรัฐบาลสมัคร โดยกลุ่มพันธมิตรฯ ก็เป็นเรื่องยากที่จะกระทำการดังนั้นได้ เนื่องจากขาดการยอมรับในหลายภาคส่วนทั้งฝ่ายข้าราชการ ทหาร หรือแม้กระทั่งภาคสังคมที่ยังมองว่า ยังไร้ความชอบธรรมค่อนข้างมากหากเทียบกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

“หากมีการยึดอำนาจ แล้วประกาศเปลี่ยนรัฐบาล ตั้งคณะบริหารชุดใหม่ขึ้นมาแทน ก็ยังขาดความชอบธรรมค่อนข้างมาก ทั้งจากที่มาซึ่งไม่ถูกต้องตามระบบ และที่สำคัญทุกฝ่ายยังไม่ยอมรับ” รศ.ดร.นิยม กล่าว

นอกจากนี้ แนวคิดในเชิงประนีประนอมด้วยการใช้ “รัฐบาลเฉพาะกาล” เองก็ยังมีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ค่อนข้างสูง รวมถึงรัฐบาลยังมีอำนาจเต็ม และสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่วิกฤตถึงขั้นต้องจัดตั้งรัฐบาลดังกล่าวขึ้นมาแทนที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวจึงยากที่จะเกิดขึ้นในเวลานี้ แม้ว่าจะมีผู้พยายามเสนอแนวคิดดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาก็ตาม


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์
28 สิงหาคม 2551

2คำอธิบาย"จังหวะก้าว26สิงหา"ของพันธมิตร และอนาคตของ"วิกฤติทักษิณ"




ผมคิดว่า มีคำอธิบายจังหวะก้าว 26 สิงหา ของ พันธมิตร ได้ 2 แบบ ส่วนคำอธิบายแบบใดเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง ผมบอกไม่ได้



คำอธิบายที่ 1:พันธมิตร ตัดสินใจเรื่องจังหวะก้าวนี้เอง แล้วตัดสินใจพลาด

คำว่า "ตัดสินใจเอง" ผมหมายถึงพวกแกนนำ (ไม่ว่าจะเป็นกรณีรู้กันหมดทุกคน หรือกรณี บางคนรู้เท่านั้น แต่บางคนไม่รู้ ก็ตาม) และคนทีอยู่รอบๆ ทีสนิทกับแกนนำ เช่น "พัลลภ" หรือ "ประสงค์" ทีน่าจะยังอยู่รอบๆจำลอง

ส่วนสาเหตุที่พวกนี้ตัดสินใจไปเอง เพราะต้องการ force สถานการณ์ ให้กำลังนอกรัฐธรรมนูญ 2 กลุ่ม (กลุ่มเขียว กับ กลุ่มเหลือง) "ออกมา"

การยึด NBT นั้น ผมคิดว่า ตอนแรก เขาคงคาดว่า จะทำได้สำเร็จ คือยึดแล้ว เปลี่ยนสัญญาณได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็อาจจะมีผลสะเทือนไม่น้อย และเดิม ผมคิดว่า เขาคิดว่า จะสามารถยึด ได้ยาวกว่านี้ด้วย คือ ไม่คิดว่า จะมีตำรวจมากวาด "หน่วยจู่โจม" ได้เร็วขนาดนี้ (ผมคิดว่า ไอเดียเดิมคือ หลังจากหน่วยจู่โจมยึดแล้ว ก็เอา "มวลชน" มาเสริม และไม่ยอมออก บังคับให้ จนท.ต้องใช้กำลัง อาวุธ ที่เตรียมมา ก็ไว้เผื่อสถานการณ์ทำนองนี้ แม้จะไม่ถึงขั้น เตรียมปะทะเต็มที่ แต่เตรียมปะทะแน่ อาจจะระดับย่อย ตะลุมบอน)


ที่เรียกว่าเป็นการ "ตัดสินใจเอง" หมายถึง ไม่ได้ "นัด" หรือ "ตกลง" กับ กลุ่มเขียว และ กลุ่มเหลือง ล่วงหน้า หรือ "นัด" ไม่ได้ล่วงหน้า แต่พันธมิตรเองเชื่อว่า ถ้า force ให้สถานการณ์ถึงขั้นปะทะได้ ก็จะ บีบให้ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง หรือทั้ง 2 กลุ่มออกมาเอง

คำอธิบายที่ 2:พันธมิตร ตัดสินใจ โดยนัดหมายกับ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ "ไม่มาตามนัด"

คล้ายกับกรณี "กบฏยังเตอร์ก" เมษา 2524 หรือ "กบฏ กันยายน 2528 โดยเฉพาะครั้งหลังนี้ มีความเชื่ออย่างกว้างขวางว่า เป็นเรื่อง "ไม่มาตามนัด" ทำให้ล้มเหลว เพราะไม่คิดว่า มนูญ รูปขจร จะบ้าบิ่นทำคนเดียวได้ขนาดนั้น ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า "อาทิตย์" เอง "เปลี่ยนใจ" การรัฐประหารเลยล้ม

ขอให้สังเกตว่า ถ้าคำอธิบายที่ 1 ถูกต้อง เรื่องนี้ ก็ยัง "ไม่จบ" และอาจจะพูดว่า ยังไม่ถึงกับ "เสียแผน" มากนัก เพียงแต่ delay คือ พลาดเรื่อง NBT (เสียการเมืองไปมาก) แต่โอกาสจะ force สถานการณ์ ก็มีอยู่ แตเนื่องจาก เสียการเมืองในกรณี NBT ไปมาก ทำให้ กลุ่มเขียว และ กลุ่มเหลือง ที่พันธมิตรหวังว่าจะถูกบังคับจากสถานการณ์ให้ออกมา ต้องคิดหนักขึ้น ถ้าจะออกมา

แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะ ถ้ารัฐบาล handle การจับกุมและกวาดล้างการชุมนุมในทำเนียบไม่ดี (มีเลือกตกยางออก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ หรือ แม้แต่ "พันธมิตรทำกันเอง") ก็อาจจะยังเป็นไปได้ที่จะบีบให้ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ต้องออกมาอยู่นั่นเอง

ถ้าคำอธิบายที่ 2 ถูกต้อง ความล้มเหลว ผิดพลาด ของการ "ไม่มาตามนัด" ครั้งนี้ ก็เพียงแต่ เท่ากับว่า เปลี่ยน ในสภาพ จังหวะก้าว ครั้งนี้ ไปเป็นตามคำอธิบายที่ 1 โดยปริยาย พูดง่ายๆคือ ถ้าเดิม พันธมิตร ทำไป เพราะตกลงนัดแนะไว้ล่วงหน้าแล้ว กับ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง แต่ถูก "เบี้ยว" พันธมิตรเอง ก็อยู่ในลักษณะ ตกกระไดพลอยโจน หรือ ขี่หลังเสือ ลงไม่ได้แล้ว ต้อง "ปรับ" ให้เป็นเรื่องของตัวเองฝ่ายเดียวไป (คิดถึงกรณี รปห.กันยายน 2528 ที่กล่าวข้างต้น หลังจาก มนูญ ถูก "เบี้ยว" ถูก "ไม่มาตามนัด" แล้ว ก็ยังพยายาม ดำเนินการรัฐประหารต่อไปอีก 1-2 วัน ก่อนจะแพ้) ในกรณีพันธมิตรนี้ ถ้าเหตุการณ์เป็นไปแบบหลังนี้ คือ ตอนนี้ พันธมิตรกำลังอยู่ในภาวะ "จนตรอก" ต้อง "ขี่หลังเสือลงไม่ได้" ก็ยังไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาส "พลิกสถานการณ์" ถ้ารัฐบาล handle การจับและกวาดล้างทำเนียบไม่ดีพอ อย่างที่กล่าวในย่อหน้าก่อน และเรื่องก็จะกลายเป็นการ บีบให้กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ที่ "เบี้ยว" "ไม่มาตามนัด" ต้องออกมาได้อยู่นั่นเอง โอกาสเช่นนี้ของพันธมิตร ก็ยังมีอยู่


It's not over, until it's over.


อันที่จริง ต่อให้วิกฤตการชุมนุมของพันธมิตรครั้งนี้ "จบ" ในไม่กี่วันนี้ (แกนนำถูกจับ, เวทีถูกสลาย) ผมก็ไม่คิดว่า "วิกฤติทักษิณ" ทีเกิดมาจะครบ 3 ปี (นับจากการ เปิดตัว "พระราชอำนาจ" ของประมูล ต้นกันยา 2548) จะจบ

ปัญหาพื้นฐานที่สุดของ วิกฤตทักษิณ คือ ปัญหา การปะทะระหว่าง "ทวิอำนาจ" (dual power) ที่จะกำหนด ลักษณะ อนาคต ของการเมืองไทย อย่างขั้นรากฐาน....

คุณ "สหายสิกขา" ได้เขียนเปรียบเทียบกับกรณี 6 ตุลา ว่า การปราบ นศ.เมื่อ 6 ตุลา ไม่ทำให้เรื่องยุติ การปราบพันธมิตรได้ในวันนี้พรุ่งนี ก็จะไม่ทำให้เรื่องยุติ ตราบเท่าทียังมี "มวลชน" จำนวนมากของ พันธมิตรอยู่ รวมทั้งในต่างจังหวัดhttp://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=10319

แน่นอน การเปรียบเทียบกับ 6 ตุลา ไม่ถึงกับตรงนัก (ซึ่งคุณสหายสิกขาทราบดี) แต่การเปรียบเทียบนี้มีข้อดีอย่างหนึ่งคือ ประเด็นที่ว่า วิกฤตใหญ่ๆนั้น มักจะไม่ใช่จบด้วยเหตุการณ์สั้นๆ เหตุการณ์เดียวได้อย่างง่ายๆ

กรณี 6 ตุลา ถ้าเรามองแบบ logn durree (ระยะยาว) แล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป็น "จุดสุดยอด" (peak) ของการปะทะ ระหว่าง "ขั้ว ระบอบสฤษดิ์" vs "ขั้ว สมัชชา 3 + 7 สิงหา + 14 ตุลา" (ผมขออภัย ไม่มีเวลาขยายความเรื่อง การปะทะนี้ คิดว่าใครที่ติดตามเรือ่งประวัติศาสตร์การเมืองไทยพอสมควร คงพอนึกภาพขยายความได้เองในใจ)

"6 ตุลา" เป็นจุด peak แต่ไม่ได้ยุติ การปะทะนี้ อันที่จริง ดังที่ทราบกันดี ทำให้การปะทะนี้ รุนแรงมากขึ้น การรัฐประหารโดยเกรียงศักดิ์ เมือ 20 ตุลา 2520 เพื่อ "แก้ปม" ของ 6 ตุลา ก็ไม่ได้ทำให้เรื่องยุติ .. การปะทะครั้งประวัติศาสตร์นั้น มายุติจริงๆ เมื่อ พคท.ล่มในปี 2525 ....



ถ้ามองเปรียบเทียบในแง่นี้ การยุติการชุมนุมพันธมิตรในวันนี้พรุ่งนี้ จะไม่ทำให้ "วิกฤติทักษิณ" ซึ่งมาจากการปะทะของ dual power ยุติแน่ๆ

.....

บทความนิธิในมติชน วันจันทร์ที่ผ่านมา (ซึ่งจะมีต่อวันจันทร์หน้า) และบทความของเกษียร (ที่นิธิเองอ้างถึง) ถูกต้องในแง่ที่พยายามอธิบาย "วิกฤติ" ครั้งนี้ ในฐานะความเปลียนแปลงดุลย์กำลังขั้นพื้นฐานบางอย่าง เพียงแต่ - ในทัศนะของผม - ทั้งคู่ มองหาคำอธิบาย in the wrong place (or, at least, not quite in the right place)

โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เวบบอร์ดฟ้าเดียวกัน
28 สิงหาคม 2551

1 ปี รธน.ปิศาจคาบไปป์ สมควรฉีกทิ้งที่สุด !!!




ครบรอบ 1 ปี รัฐธรรมนูญปิศาจคาบไปป์ เมื่อ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา หลายแห่งมีการจัดอภิปราย ใครสนใจก็หาอ่านย้อนหลังกันเอาเองเถอะ

แต่อย่างที่รู้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ ทำให้ฝ่ายบริหารเป็นเป็ดง่อย ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ อ่อนแอสุด ๆ

ไม่ใช่เรื่องอคติ แต่เมื่อร่างโดย “ร่างทรง คมช.” ที่ลากรถถังออกมายึดอำนาจ จะให้มันงดงาม เสริมสร้างประชาธิปไตย ย่อมยาก

เริ่มต้นก็บอกแล้ว เป็นฉบับ กับดักคนชั่ว และคนชั่วคนนั้น ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั่นแหละ

ทุกอย่างจึงออกแบบมา เพื่อล้างเผ่าพันธุ์ไทยรักไทยเป็นที่ตั้ง และลามไปถึงนักการเมืองทั้งหมด จับผิดทุกฝีก้าว หยุมหยิมไปหมด กฎหมาย 7 ชั่วโคตรไง นับไปนับมา ญาติสายไหนไม่รู้ 80 กว่าคนห้ามรับงานจากรัฐทุกชนิด ไม่งั้นติดคุกหัวโต สุดโต่งมั้ยเล่า !!!

ประชาธิปไตยก็ถอยหลังลงเหว คน 7 คน ลากตั้ง ส.ว.ได้ 74 คน เด็กฝาก เด็กในคาถาใครต่อใคร ประชาชนไม่มีสิทธิรู้เห็น มุบมิบเลือกกันเอง แต่ 45 ล้านคน เลือก ส.ว.ได้ แค่ 76 คน เพราะดูถูกประชาชนว่าโง่เง่า

มันเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และยึดหลักนิติธรรมตรงไหน ???

ขณะที่ ม.309 กลับเขียน “นิรโทษกรรม” ให้คนที่ฉีกรัฐธรรมนูญ และองค์กรที่ตั้งขึ้น เพื่อจัดการศัตรู ห้ามใครฟ้อง แต่พวกตัวเอง ทำอะไรไว้ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ นี่หรือหลักนิติธรรม !!!

เหนืออื่นใด ดุลอำนาจการบริหารบ้านเมือง ระหว่างฝ่าย นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ซึ่งในอดีตจะดี จะชั่ว ก็ถ่วงดุล อยู่ในตัว แต่ตอนนี้เสียศูนย์ หมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีรถวิ่งคร่อมเลนอยู่เรื่อย

ฝ่ายบริหารไม่ต้องพูดถึง รัฐบาลเป็นเป็ดง่อย ตั้งแต่ตั้งไข่ นายกฯ คนเดียวมี 5-6 คดี คาทุกศาล ต้นกันยาฯนี้ คดี “ชิมไป บ่นไป” ที่ สมัคร สุนทรเวช ฟ้องทุกเวทีว่า แค่ชอบ ทำกับข้าว ก็หลุดจากเก้าอี้ได้ ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว ยังไม่นับคดีอื่นทั้งรถดับเพลิง หมิ่นประมาท ครม. ทั้งคณะโดนคดีทำผิด รธน.ม.190 กรณีให้ รมว.การต่างประเทศไปเซ็นสัญญากับกัมพูชา ให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ฯลฯ

3 รมต.คดีหวย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นายอนุรักษ์ จุรีมาศ นางอุไรวรรณ เทียนทอง ก็เพิ่งได้ต่อลมหายใจอีกเฮือก หลังศาลปกครองสูงสุด ยกคำร้องฉุกเฉิน ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ มารอศาลฎีกาวินิจฉัย อีกครั้ง

ที่ผลิตนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน และอื่น ๆ ออกมาได้ ทั้งเก่งและบุญแล้ว

ม.237(2) กก.บริหารพรรคทำผิด ให้ถือว่า ผิดทั้งพรรค ต้องยุบพรรค ลูกเดียว แปลกดี ทีตุลาการบางคน เมียกับแม่ยาย ไปโกงที่ผู้มีพระคุณ บอกไม่เกี่ยว ต้องลงโทษเฉพาะคนทำผิด พรรคมีสมาชิก 10 ล้าน ทำไมผิดหมด

ยึดหลักนิติธรรมตรงไหนเนี่ย !!!

พรรคที่เข้าแถวยุบมี พลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย เพื่อแผ่นดิน ฟังเสียง บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่คอพาดเขียง “แม้ดินกลบหน้าจะไม่ลืม” ก็พอรู้ คับแค้นขนาดไหน แต่อย่าหวังจะรอด

ที่รอดก็พรรคขาวจั๊วะ รอดแล้ว รอดอีก ประชาธิปัตย์ อนุ กกต.ฟันธงแล้ว ยกคำร้อง วิฑูรย์ นามบุตร แจกตั๋วหนัง

ก็ไม่รู้บรรทัดฐาน กกต.และความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน ???

แค่ไม่กี่มาตรานี้ ยังเห็นความอัปลักษณ์ อคติ และความไม่เป็นธรรมมากขนาดนี้

นี่แหละ เหตุผลที่รัฐธรรมนูญปิศาจคาบไปป์ สมควรโดนฉีกทิ้ง เขียนใหม่ ที่สุด !!!.

โดย คุณ ดาวประกายพรึก
ที่มา เวบไซต์ เดลินิวส์
27 สิงหาคม 2551