15 กันยายน 2551

การเมืองใหม่ 70 / 30 ปฏิวัติประชาชน?






ชื่อของ "นักรบศรีวิชัย" กองกำลังสำคัญของ กลุ่มพันธมิตร ถูกจับไปเชื่อมโยงกับ "หทาร" ในหลายระดับ เพราะข้อมูลวงในบอกว่า กองกำลัง นี้ส่วนใหญ่มาจาก "กลุ่มพันธมิตรลุ่มน้ำฯ ปากพนัง" จ.นครศรีธรรมราช ถูกฝึกระดับจรยุทธแบบ "ทหาร" อยู่ภายใต้การบัญชาการสูงสุดของ " พล.ต.จำลอง ศรี เมือง" อดีต จปร.7 จึงถูกเชื่อมโยงกับ "เพื่อนจปร.7" ที่โด่งดัง

อย่างเช่น " พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต ที่ถูกลือว่าเกี่ยวสัมพันธุ์กับหลายเหตุการณ์ประวัติศาตร์(พฤษภาทมิฬ-กรือเซะ- คาร์บอมบ์ ) และ เชื่อมโยงกับเพื่อนสนิทของพล.อ.พัลลภ อย่าง "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ " อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรบ่อยๆ ผสาน กับ "ประสงค์ สุ่นศิริ" ผ่าน "ประพันธุ์ คูณมี" ... เหล่านี้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงว่าการเคลื่อนพลของกลุ่มพันธมิตรนี้ มีการวางไลน์โดย "กลุ่ม เพื่อนจำลอง" คือ "พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต -พล.อ.ปรีชา " และนายทหารรุ่นน้องอย่าง "พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์"




ปฏิวัติประชาชน?
ปฎิบัติการณ์ "เทหมดหน้าตัก" ของ "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เพื่อโค่นรัฐบาลสมัคร กลับกลายเป็น" กับดักความชอบธรรม" ที่รัฐบาลขุดหลุมล่อ ทำให้แกนนำพันธมิตรต้องจ่าย"ความผิดพลาดราคาแพง" ด้วยหมายจับจากตร.ฐานเป็นกบฎ!

26 สิงหาคม 2551 "กลุ่มพันธมิตร" ใช้แผนกลยุทธโจมตีรัฐบาล คล้ายกับแผนการก่อการปฎิวัติ ในครั้งที่ผ่านๆมา ไม่ว่าจะเป็น1.บล๊อกบริเวณ เส้นทางสำคัญ เหนือ-ใต้-อีสาน 2. การกระจายกำลังบุกยึดจุดสำคัญในกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ กระทรวง คมนาคม และที่ทำเนียบรัฐบาล(สัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ) 3.ยึดสื่อของรัฐ(สถานทีโทรทัศน์ NBT-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย )

จุดความผิดพลาดจากกรณี ยึด NBT แบบไม่เบ็ดเสร็จ(พยายามต่อสัญญาณของเอเอสทีวีเข้าสวมแทน แต่ไม่สำเร็จ) และการใช้กำลังของ "นักรบศรีวิชัย" กลายเป็นจุดบอด เป็นเข็มแทงย้อนศร "กลุ่มพันธมิตร" ด้วยคำถามว่า "สันติวิธี-อหิงสา " แบบไหน?

ชื่อของ "นักรบศรีวิชัย" กองกำลังสำคัญของ กลุ่มพันธมิตร ถูกจับไปเชื่อมโยงกับ "หทาร" ในหลายระดับ เพราะข้อมูลวงในบอกว่า กองกำลัง นี้ส่วนใหญ่มาจาก "กลุ่มพันธมิตรลุ่มน้ำฯ ปากพนัง" จ.นครศรีธรรมราช ถูกฝึกระดับจรยุทธแบบ "ทหาร" อยู่ภายใต้การบัญชาการสูงสุดของ " พล.ต.จำลอง ศรี เมือง" อดีต จปร.7 จึงถูกเชื่อมโยงกับ "เพื่อนจปร.7" ที่โด่งดัง

อย่างเช่น " พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต ที่ถูกลือว่าเกี่ยวสัมพันธุ์กับหลายเหตุการณ์ประวัติศาตร์(พฤษภาทมิฬ-กรือเซะ- คาร์บอมบ์ ) และ เชื่อมโยงกับเพื่อนสนิทของพล.อ.พัลลภ อย่าง "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ " อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรบ่อยๆ ผสาน กับ "ประสงค์ สุ่นศิริ" ผ่าน "ประพันธุ์ คูณมี" ... เหล่านี้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงว่าการเคลื่อนพลของกลุ่มพันธมิตรนี้ มีการวางไลน์โดย "กลุ่ม เพื่อนจำลอง" คือ "พล.อ.พัลลภ - พลตรีมนูญกฤต -พล.อ.ปรีชา " และนายทหารรุ่นน้องอย่าง "พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์"

ผลพวงจากยึด NBT กระแสพันธมิตรกำลังถดถอย "สมัคร" กลับบอกว่าหมดความอดทนแล้ว ขู่ให้ตร.จัดการเด็ดขาด พร้อมบอกให้คนไทย-สื่อ " เลือกข้าง" กระแสของรัฐบาลที่กำลังจะขยับเพิ่ม กลับตกมาอยู่ในจุดเดิม หรือต่ำกว่าเดิมไปเรียบร้อย

จุดผิดพลาดต่อมาคือ การที่ พันธมิตรเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์ต่างๆได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะ "ที่ทำเนียบรัฐบาล" (ครั้งที่แล้วยกทัพมาแค่ประชิด หน้าประตูแต่ไม่ได้บุกเข้ามา) ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลทำเนียบเพียง5นาย เท่านั้น

เรื่องนี้กลายเป็น "กับดักความชอบธรรม" ที่รัฐ ปล่อยให้ พันธมิตรฯบุกเข้ามาโดยไม่มีการสะกัดกั้นแล้วตลบหลังออกหมายจับ(27 ส.ค.2551) ตามมาด้วยทนายความ สำนักนายกฯ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ให้ไต่สวนฉุกเฉิน มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กลุ่มพันธมิตรฯถอนทัพ

รัฐบาลกำลังย้อนรอย พันธมิตรในเรื่องของ "ตุลาการภิวัฒน์" ที่เคยเล่นงานฝ่ายรัฐ-นายใหญ่อย่างหนักหน่วง ครั้งนี้รัฐบีบให้ "ตุลาการ" ทำงาน เพื่อเป็นการกดดันในเรื่อง "2มาตรฐาน" ซึ่งในที่สุดศาลอาญาก็อนุมัติจับ9 แกนนำพันธมิตรฐานก่อกบฎ ตามมาด้วยศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว สั่งให้พันธมิตรถอนกำลังออกจากทำเนียบและพื้นที่โดยรอบ

เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ เมื่อคราวที่ "นักรบนปก." เคลื่อนพลบุกบ้านป๋าเปรม ในยุคของรัฐบาลทหาร ทำให้ฝ่ายรัฐใช้อำนาจผ่านตร. ออกหมายจับ (24 ก.ค.2550) นปก.9 คน(เช่นวีระ มุกสิกพงศ์ -จตุพร พรหมพันธ์-จักรภพ เพ็ญแข-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ) ใน3 ข้อหา คือมั่วสุมกัน ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาสั่งการหรือยั่วยุปลุกระดมให้กลุ่มบุคคลกระทำ การอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และต้องทำให้คนเหล่านี้ไปนอนในคุกในระยะเวลาสั้นๆ

แต่ของพันธมิตร โดน4ข้อหาคือ 1. การตระเตรียมการเป็นการกบฏ 2.มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง 3.ใช้กำลัง ประทุษร้ายขู่เข็ญหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และ4.ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่

และเมื่อย้อนไปดูเส้นทางการชุมนุมของพันธมิตรรอบ2 นี้จะพบว่าคล้ายคลึงกับการชุมนุมของนปก.ไม่น้อย ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อการก่อกำเนิด ของนปก.นั้นมาจากการชุมนุมในนามพีทีวี จากนั้นก็ขยับเป้าหมายการต่อสู้ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นต่อต้านรัฐประหาร ส่วนของพันธมิตรนั้น ในเบื้องต้นก็ชูธงในเรื่องคัดค้านการรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็แปรไปสู่เรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายข้าราชการ เรื่องเขาพระวิหาร จนมาถึง เรื่องย้ายรัฐสภาแห่งใหม่

เหล่านี้ทำให้ประเด็นของกลุ่มพันธมิตรส่ายไปส่ายมา เป็นความผันผวนที่ทำให้ไม่สามารถเรียกศรัทธาจากมวลชนได้มากเท่าครั้งที่ขับไล่นาย ใหญ่ ทำให้พลังของกลุ่มพันธมิตรไม่สูงพอทีจะเปลี่ยนแปลง อีกทั้งปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้เกิด "รัฐประหาร 19 ก.ย.49" นั้น คือ "ทหาร เอาด้วย" แต่คราวนี้ "ทหารไม่เอาด้วย"

เพราะ "สมัคร" จอมเก๋า นอกจากหลังจะพิงวังแล้วมือยังโอบขุนทหารไว้ด้วย เพราะตั้งแต่สมัครขึ้นสู่อำนาจก็พยายามใกล้ชิดกับผบ.ทบ. ที่กุม กำลังสูงสุด มีการเรียกใช้ผบ.ทบ. ออกงานบ่อยๆ แถมให้อำนาจเด็ดขาด ไม่เข้าไปก้าวก่าย ทำให้ซื้อใจทหารได้ และยิ่งช๊อตสุดท้าย ในบัญชี การโยกย้ายนายทหารปีนี้ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว นุ่มนวล และเมื่อพันธมิตรยึดทำเนียบ ก็ไปใช้ กองบัญชากองทัพไทยเป็นฐานบัญชาการ อันเป็นการโชว์ว่าแน่นปึกกับทหาร

มีเกจิการเมืองวิเคราะห์ว่าการที่กลุ่มพันธมิตร เลือก26 ส.ค. 2551เป็นวันดีเดย์นั้น คือวันที่ 30ส.ค. 2551 จะเป็นวันเปิดงาน " 116 วัน จากวันแม่สู่ วันพ่อ" ดังนั้นถ้าไม่รีบดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ถ้าไม่เคลื่อนไหวในช่วงวันเวลาดังกล่าว และถ้าไปเคลื่อนไหวหลังวันที่ 30 ส.ค.โอกาสที่จะถูกประนาม มีสูงยิ่ง

นอกจากนั้นก็มีการเชื่อมโยงว่าเป็นวันเกิดป๋าเปรม และเป็นวันที่ตัดสินโผทหาร และทางกลุ่มพันธมิตร ได้ข้อมูลทางลับมาว่าจะมีการขัดแย้ง ในโผทหาร ซึ่งนำมาสู่ความมั่นใจในการลงมือ แต่ "สมัคร" รู้ทัน ไม่แตะโผทหารเลยแม้แต่น้อย ให้อำนาจผบ.ทบ. เต็มๆ ให้ไปเคลี่ยร์กับอีก 2 เหล่ากันเอง ยิ่งเฉพาะในทัพอากาศ (เด็กของพล.อ.อ.ชลิต ผบ.ทอ.เข้าวิน) ซึ่งการลงตัวของขุนทหาร ทำให้ไม่เกิดการขยับอะไรทั้งสิ้น แม้จะมี ปัจจัยยั่วยุ หลายประการ

ทำให้กลุ่มพันธมิตรที่ต้องการจะให้เกิดการปะทะ ก็หวังเหวิด และ "ดูเหมือนกำลังรอให้ตร.มาจับกุมแกนนำ" หวังให้เกิดแรงเสียดทาน การ เผชิญหน้า อันเป็นเงื่อนไขให้ประชาชนออกมามากขึ้น และที่สำคัญต้องการให้ทหารออกมา

เพราะ ดูท่าทีแล้ว โอกาสที่ "สมัคร" จะถอดใจ ยอมแพ้ เป็นไปได้ยาก เพราะงานนี้รัฐบาลไม่ยอมลงมือก่อน ถอยสุดซอยไปเรื่อยๆ (26 ส.ค. เวลา 5 โมง ตร.ประกาศเส้นตายให้พันธมิตรออก จากทำเนียบก่อน 6โมงเย็น แต่ จนหมดวันที่ 27 ส.ค.ยังไม่การเข้าไปสลายการชุมนุนแต่อย่างใด )

และแม้กลุ่มพันธมิตรจะมีการตั้งแกนนำชุด 2ไว้รองรับ แล้ว แต่ดูจากชื่อชั้นก็ไม่มีพลังเรียกคนได้มากเท่ากับแกนนำชุดแรก ซึ่งก็จะเหมือนกับ ครั้งที่มีนปก.ชุด 2 ที่ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด ซึ่งแกนนำพันธมิตรชุด 2 ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันสักเท่าไร

มีหลายฝ่ายมองว่า กลุ่มพันธมิตรหาทางลง ด้วยการทำรัฐประหารโดยประชาชน ให้กลายเป็น "ปฎิวัติประชาชน" แต่ด้วยกระแสสังคม ความ สุกงอมของปัญหายังไม่เกิด แม้จะมีนายกฯที่พยายามสร้างชนวนแตกร้าวอยู่บ่อยๆ (อย่างล่าสุดให้เลือกข้าง) แต่ก็ยังไม่ความผิดที่สำเร็จเด่นชัดมากมาย ทางพันธมิตรเองก็การวางแผนผิดพลาด การประกาศศัตรูไปทั่ว

ยิ่งเฉพาะการก่อการในขณะที่ "ขบวนการตุลาการภิวัฒน์" ที่เชื่อว่า เป็นฝ่ายของอำมาตย์ กำลังทำงานอย่างเข้มข้น ผ่านคดีการเมืองหลายคดีทั้งที่ผ่านไปแล้ว (ที่แม้แต่นายใหญ่ยังต้องหลบฉากไปต่างแดน ) และ คดีที่ยังรอการตัดสินอีกในอนาคต (คดีชิมไปบ่นไป-ยุบพรรค) ซึ่งทำให้น้ำหนักของเหตุผลในการแตกหักของ กลุ่มพันธมิตร ดูจะเบางบางลง ไป

และล่าสุดเมื่อศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว สั่งให้พันธมิตรถอนกำลังออกจากทำเนียบและพื้นที่โดยรอบ( 22.00ของวันที่ 27 ส.ค.2551) แล้วทางพันธมิตรก็บอกว่าเคารพคำสั่งศาล แต่ขอปักหลักชุมุนุมต่อไป เพื่อขออุทธรณ์ในวันที่28 ส.ค.2551

ต้องจับตาว่ากลุ่มพันธมิตร จะหาประตุทางออกเจอหรือไม่ และออกอย่างไร?

แต่สุดท้ายไม่ว่า ปรากฎการณ์ "ปฎิวัติ ประชาชน" จะชนะ หรือแพ้ ก็ตาม แต่.ระบอบประชาธิปไตยและประเทศชาติ

โดย สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
29 สิงหาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น: