15 กันยายน 2551

กระบอกเสียงลิ้มปูดแผนพันธมิตรตั้งรัฐบาลเถื่อน หากแผนยึดเมืองประสบชัยชนะ





ประเด็นสำคัญที่สื่อเครือผู้จัดการ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตร เปิดเผยเป็นนัย(hint)ออกมาในบทวิเคราะห์นี้ก็คือว่า พันธมิตรอาจได้เตรียมการตั้งรัฐบาลของตนขึ้นแทนรัฐบาลนายสมัคร หากว่าปฏิบัติการยึดเมืองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ





หมายเหตุ:ผู้จัดการรายสัปดาห์นำเสนอบทวิเคราะห์ข่าวเรื่อง"แฉสัมพันธ์ ‘สมัคร-อนุพงษ์’ แน่นปึ้ก เดินเกมลึกเช็คบิล ‘5 พันธมิตร’ "โดยได้โปรยข่าวว่า ‘สมัคร’ เดินเกมเหนือเมฆ สวมมาดนิ่งปล่อยพันธมิตรฝ่อไปเอง ซ้อนแผนรอซ้ำดาบ 2 งัดก.ม.อาญาเอาผิดผู้ชุมนุม เตรียมไพ่ตาย“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” หากม็อบชุมนุมยืดเยื้อ ฟากนักรัฐศาสตร์ เผย สังคมยังไม่เอาด้วยหากพันธมิตรหักดิบตั้งรัฐบาลแข่ง เหตุมานอกระบบ ‘ขรก.ทหาร-ประชาชน’ ไม่ยอมรับ ขณะที่อดีตแม่ทัพภาค 4 ชี้ หากกองทัพยังนิ่ง พันธมิตรฯชนะลำบาก เพราะ ตัวตัดสินคือ ทหารต้องลงมือ เชื่อ สายสัมพันธ์ ‘สมัคร-อนุพงษ์’ แน่นปึ๊ก

ประเด็นสำคัญที่สื่อเครือผู้จัดการ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตร เปิดเผยเป็นนัย(hint)ออกมาในบทวิเคราะห์นี้ก็คือว่า พันธมิตรอาจได้เตรียมการตั้งรัฐบาลของตนขึ้นแทนรัฐบาลนายสมัคร หากว่าปฏิบัติการยึดเมืองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ

เชิญอ่านบทวิเคราะห์ชิ้นนี้...

รบยืดเยื้อ รอ ‘พธม.’ฝ่อ

รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต อดีตรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้มุมมองต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯและรัฐบาลว่า ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลจะใช้ในเวลานี้ ก็คือ การเดินเกมรบยืดเยื้อโดยปราศจากความรุนแรง เนื่องจากขณะนี้ การเดินเกมโดยใช้ความรุนแรง เริ่มต้นมาจากกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่รัฐบาลยังเลือกที่จะใช้ความสงบเพื่อสยบความเคลื่อนไหว โดยต่อจากนี้ไปจะให้อำนาจสังคมเป็นผู้ตัดสิน

“การเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล กระทรวงต่างๆ ก็เป็นเพียงความเคลื่อนไหวที่ไม่มีผลในการกดดันมากเท่าไหร่ เนื่องจากได้เพียงสถานที่เท่านั้น แต่คณะทำงานฝ่ายรัฐบาลยังคงทำงานได้”

ประเด็นสำคัญ ที่ต้องมองก็คือ ภาพของความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการบั่นทอนความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเพียงใด ความเชื่อถือ ความชอบธรรม และการเดินเกมการเมืองในแนว“สันติ อหิงสา” ที่พันธมิตรประกาศ ในทุกครั้งก็จะลดน้ำหนักลง ซึ่งรัฐบาลก็จะปล่อยให้กลุ่มพันธมิตรเป็นผู้ทำลายความเชื่อถือของตนเองไปทีละนิด

กระนั้น กรณีที่การชุมนุมทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลอาจเลือกใช้กฎหมายบางฉบับขึ้นมาใช้ รวมถึงการยกเลิกรัฐธรรมนูญในบางมาตราเป็นแนวทางสุดท้ายในการสกัดกั้นการชุมนุมที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ต่างไปจากการรัฐประหารมากเท่าใดนัก หากแต่รัฐบาลจะยังคงเป็นรัฐบาลชุดเดิมนั่นเอง

ตั้งรัฐบาลเสียบหมักไร้ความชอบธรรม

อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ขึ้นมาทำหน้าที่บริหารประเทศแทนรัฐบาลสมัคร โดยกลุ่มพันธมิตรฯ ก็เป็นเรื่องยากที่จะกระทำการดังนั้นได้ เนื่องจากขาดการยอมรับในหลายภาคส่วนทั้งฝ่ายข้าราชการ ทหาร หรือแม้กระทั่งภาคสังคมที่ยังมองว่า ยังไร้ความชอบธรรมค่อนข้างมากหากเทียบกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

“หากมีการยึดอำนาจ แล้วประกาศเปลี่ยนรัฐบาล ตั้งคณะบริหารชุดใหม่ขึ้นมาแทน ก็ยังขาดความชอบธรรมค่อนข้างมาก ทั้งจากที่มาซึ่งไม่ถูกต้องตามระบบ และที่สำคัญทุกฝ่ายยังไม่ยอมรับ” รศ.ดร.นิยม กล่าว

นอกจากนี้ แนวคิดในเชิงประนีประนอมด้วยการใช้ “รัฐบาลเฉพาะกาล” เองก็ยังมีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ค่อนข้างสูง รวมถึงรัฐบาลยังมีอำนาจเต็ม และสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่วิกฤตถึงขั้นต้องจัดตั้งรัฐบาลดังกล่าวขึ้นมาแทนที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวจึงยากที่จะเกิดขึ้นในเวลานี้ แม้ว่าจะมีผู้พยายามเสนอแนวคิดดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาก็ตาม


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์
28 สิงหาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น: