15 กันยายน 2551

2คำอธิบาย"จังหวะก้าว26สิงหา"ของพันธมิตร และอนาคตของ"วิกฤติทักษิณ"




ผมคิดว่า มีคำอธิบายจังหวะก้าว 26 สิงหา ของ พันธมิตร ได้ 2 แบบ ส่วนคำอธิบายแบบใดเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง ผมบอกไม่ได้



คำอธิบายที่ 1:พันธมิตร ตัดสินใจเรื่องจังหวะก้าวนี้เอง แล้วตัดสินใจพลาด

คำว่า "ตัดสินใจเอง" ผมหมายถึงพวกแกนนำ (ไม่ว่าจะเป็นกรณีรู้กันหมดทุกคน หรือกรณี บางคนรู้เท่านั้น แต่บางคนไม่รู้ ก็ตาม) และคนทีอยู่รอบๆ ทีสนิทกับแกนนำ เช่น "พัลลภ" หรือ "ประสงค์" ทีน่าจะยังอยู่รอบๆจำลอง

ส่วนสาเหตุที่พวกนี้ตัดสินใจไปเอง เพราะต้องการ force สถานการณ์ ให้กำลังนอกรัฐธรรมนูญ 2 กลุ่ม (กลุ่มเขียว กับ กลุ่มเหลือง) "ออกมา"

การยึด NBT นั้น ผมคิดว่า ตอนแรก เขาคงคาดว่า จะทำได้สำเร็จ คือยึดแล้ว เปลี่ยนสัญญาณได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็อาจจะมีผลสะเทือนไม่น้อย และเดิม ผมคิดว่า เขาคิดว่า จะสามารถยึด ได้ยาวกว่านี้ด้วย คือ ไม่คิดว่า จะมีตำรวจมากวาด "หน่วยจู่โจม" ได้เร็วขนาดนี้ (ผมคิดว่า ไอเดียเดิมคือ หลังจากหน่วยจู่โจมยึดแล้ว ก็เอา "มวลชน" มาเสริม และไม่ยอมออก บังคับให้ จนท.ต้องใช้กำลัง อาวุธ ที่เตรียมมา ก็ไว้เผื่อสถานการณ์ทำนองนี้ แม้จะไม่ถึงขั้น เตรียมปะทะเต็มที่ แต่เตรียมปะทะแน่ อาจจะระดับย่อย ตะลุมบอน)


ที่เรียกว่าเป็นการ "ตัดสินใจเอง" หมายถึง ไม่ได้ "นัด" หรือ "ตกลง" กับ กลุ่มเขียว และ กลุ่มเหลือง ล่วงหน้า หรือ "นัด" ไม่ได้ล่วงหน้า แต่พันธมิตรเองเชื่อว่า ถ้า force ให้สถานการณ์ถึงขั้นปะทะได้ ก็จะ บีบให้ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง หรือทั้ง 2 กลุ่มออกมาเอง

คำอธิบายที่ 2:พันธมิตร ตัดสินใจ โดยนัดหมายกับ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ "ไม่มาตามนัด"

คล้ายกับกรณี "กบฏยังเตอร์ก" เมษา 2524 หรือ "กบฏ กันยายน 2528 โดยเฉพาะครั้งหลังนี้ มีความเชื่ออย่างกว้างขวางว่า เป็นเรื่อง "ไม่มาตามนัด" ทำให้ล้มเหลว เพราะไม่คิดว่า มนูญ รูปขจร จะบ้าบิ่นทำคนเดียวได้ขนาดนั้น ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า "อาทิตย์" เอง "เปลี่ยนใจ" การรัฐประหารเลยล้ม

ขอให้สังเกตว่า ถ้าคำอธิบายที่ 1 ถูกต้อง เรื่องนี้ ก็ยัง "ไม่จบ" และอาจจะพูดว่า ยังไม่ถึงกับ "เสียแผน" มากนัก เพียงแต่ delay คือ พลาดเรื่อง NBT (เสียการเมืองไปมาก) แต่โอกาสจะ force สถานการณ์ ก็มีอยู่ แตเนื่องจาก เสียการเมืองในกรณี NBT ไปมาก ทำให้ กลุ่มเขียว และ กลุ่มเหลือง ที่พันธมิตรหวังว่าจะถูกบังคับจากสถานการณ์ให้ออกมา ต้องคิดหนักขึ้น ถ้าจะออกมา

แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะ ถ้ารัฐบาล handle การจับกุมและกวาดล้างการชุมนุมในทำเนียบไม่ดี (มีเลือกตกยางออก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ หรือ แม้แต่ "พันธมิตรทำกันเอง") ก็อาจจะยังเป็นไปได้ที่จะบีบให้ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ต้องออกมาอยู่นั่นเอง

ถ้าคำอธิบายที่ 2 ถูกต้อง ความล้มเหลว ผิดพลาด ของการ "ไม่มาตามนัด" ครั้งนี้ ก็เพียงแต่ เท่ากับว่า เปลี่ยน ในสภาพ จังหวะก้าว ครั้งนี้ ไปเป็นตามคำอธิบายที่ 1 โดยปริยาย พูดง่ายๆคือ ถ้าเดิม พันธมิตร ทำไป เพราะตกลงนัดแนะไว้ล่วงหน้าแล้ว กับ กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง แต่ถูก "เบี้ยว" พันธมิตรเอง ก็อยู่ในลักษณะ ตกกระไดพลอยโจน หรือ ขี่หลังเสือ ลงไม่ได้แล้ว ต้อง "ปรับ" ให้เป็นเรื่องของตัวเองฝ่ายเดียวไป (คิดถึงกรณี รปห.กันยายน 2528 ที่กล่าวข้างต้น หลังจาก มนูญ ถูก "เบี้ยว" ถูก "ไม่มาตามนัด" แล้ว ก็ยังพยายาม ดำเนินการรัฐประหารต่อไปอีก 1-2 วัน ก่อนจะแพ้) ในกรณีพันธมิตรนี้ ถ้าเหตุการณ์เป็นไปแบบหลังนี้ คือ ตอนนี้ พันธมิตรกำลังอยู่ในภาวะ "จนตรอก" ต้อง "ขี่หลังเสือลงไม่ได้" ก็ยังไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาส "พลิกสถานการณ์" ถ้ารัฐบาล handle การจับและกวาดล้างทำเนียบไม่ดีพอ อย่างที่กล่าวในย่อหน้าก่อน และเรื่องก็จะกลายเป็นการ บีบให้กลุ่มเขียว หรือ กลุ่มเหลือง ที่ "เบี้ยว" "ไม่มาตามนัด" ต้องออกมาได้อยู่นั่นเอง โอกาสเช่นนี้ของพันธมิตร ก็ยังมีอยู่


It's not over, until it's over.


อันที่จริง ต่อให้วิกฤตการชุมนุมของพันธมิตรครั้งนี้ "จบ" ในไม่กี่วันนี้ (แกนนำถูกจับ, เวทีถูกสลาย) ผมก็ไม่คิดว่า "วิกฤติทักษิณ" ทีเกิดมาจะครบ 3 ปี (นับจากการ เปิดตัว "พระราชอำนาจ" ของประมูล ต้นกันยา 2548) จะจบ

ปัญหาพื้นฐานที่สุดของ วิกฤตทักษิณ คือ ปัญหา การปะทะระหว่าง "ทวิอำนาจ" (dual power) ที่จะกำหนด ลักษณะ อนาคต ของการเมืองไทย อย่างขั้นรากฐาน....

คุณ "สหายสิกขา" ได้เขียนเปรียบเทียบกับกรณี 6 ตุลา ว่า การปราบ นศ.เมื่อ 6 ตุลา ไม่ทำให้เรื่องยุติ การปราบพันธมิตรได้ในวันนี้พรุ่งนี ก็จะไม่ทำให้เรื่องยุติ ตราบเท่าทียังมี "มวลชน" จำนวนมากของ พันธมิตรอยู่ รวมทั้งในต่างจังหวัดhttp://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=10319

แน่นอน การเปรียบเทียบกับ 6 ตุลา ไม่ถึงกับตรงนัก (ซึ่งคุณสหายสิกขาทราบดี) แต่การเปรียบเทียบนี้มีข้อดีอย่างหนึ่งคือ ประเด็นที่ว่า วิกฤตใหญ่ๆนั้น มักจะไม่ใช่จบด้วยเหตุการณ์สั้นๆ เหตุการณ์เดียวได้อย่างง่ายๆ

กรณี 6 ตุลา ถ้าเรามองแบบ logn durree (ระยะยาว) แล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป็น "จุดสุดยอด" (peak) ของการปะทะ ระหว่าง "ขั้ว ระบอบสฤษดิ์" vs "ขั้ว สมัชชา 3 + 7 สิงหา + 14 ตุลา" (ผมขออภัย ไม่มีเวลาขยายความเรื่อง การปะทะนี้ คิดว่าใครที่ติดตามเรือ่งประวัติศาสตร์การเมืองไทยพอสมควร คงพอนึกภาพขยายความได้เองในใจ)

"6 ตุลา" เป็นจุด peak แต่ไม่ได้ยุติ การปะทะนี้ อันที่จริง ดังที่ทราบกันดี ทำให้การปะทะนี้ รุนแรงมากขึ้น การรัฐประหารโดยเกรียงศักดิ์ เมือ 20 ตุลา 2520 เพื่อ "แก้ปม" ของ 6 ตุลา ก็ไม่ได้ทำให้เรื่องยุติ .. การปะทะครั้งประวัติศาสตร์นั้น มายุติจริงๆ เมื่อ พคท.ล่มในปี 2525 ....



ถ้ามองเปรียบเทียบในแง่นี้ การยุติการชุมนุมพันธมิตรในวันนี้พรุ่งนี้ จะไม่ทำให้ "วิกฤติทักษิณ" ซึ่งมาจากการปะทะของ dual power ยุติแน่ๆ

.....

บทความนิธิในมติชน วันจันทร์ที่ผ่านมา (ซึ่งจะมีต่อวันจันทร์หน้า) และบทความของเกษียร (ที่นิธิเองอ้างถึง) ถูกต้องในแง่ที่พยายามอธิบาย "วิกฤติ" ครั้งนี้ ในฐานะความเปลียนแปลงดุลย์กำลังขั้นพื้นฐานบางอย่าง เพียงแต่ - ในทัศนะของผม - ทั้งคู่ มองหาคำอธิบาย in the wrong place (or, at least, not quite in the right place)

โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เวบบอร์ดฟ้าเดียวกัน
28 สิงหาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น: